วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปั๊มน้ำ TSURUMI Series ไหนที่เหมาะกับน้ำทะเล ???


ปั๊มน้ำแบบจุ่ม TSURUMI รุ่น TM Series


          TSURUMI รุ่น TM Series เป็นหนึ่งในรุ่น VANCS Series ของ ปั๊ซูรูมิ TSURUMI  เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบสำหรับการสูบน้ำเค็มหรือน้ำทะเล โดยชิ้นส่วนที่เปียกน้ำ หรือชิ้นส่วนที่สัมผัสกับน้ำทำจากวัสดุไทเทเนียม และเรซินพลาสติกซึ่งจะมีความสามารถทนต่อสภาวะการสึกกร่อนได้ดีกว่าเหล็กไร้สนิมในกรณีที่ต้องใช้งานกับน้ำเค็มหรือน้ำทะเล เหมาะกับการใช้งานในเรือ ท่าเรือ อุตสาหกรรมอาหาร ปั๊มน้ำรุ่นนี้จะมีน้ำหนักที่เบา จึงเหมาะสำหรับการใช้งานทางทะเล



วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Submersible Pump TSURUMI ออกแบบง่ายๆ แต่สูงด้วยคุณภาพ

Submersible Pump TSURUMI ออกแบบง่ายๆ แต่สูงด้วยคุณภาพ
                                    
                                                                                                                                                                                                              
จุดต่อสายไฟ (Cable Entry)                                                                            สายไฟที่เชื่อมเข้ากับตัวปั๊ม จะมีตัวบล็อก เพื่อห้องกันการดูดซึมน้ำเข้าสู่สายไฟ โดยกลไกส่วนนี้ เป็นส่วนที่ประกอบด้วยยางที่หล่อขึ้นรูปหรือ กะเปาะกาวเรซินที่หล่อทับเกลียวของสายไฟแต่ละเส้น ทำให้อุปกรณ์ส่วนนี้สามารถป้องกันการดูดซึมน้ำตามแนวเกลียวของสายไฟไม่ให้ความชื้นเข้าสู่ปั๊ม


มอเตอร์ (Motor)                                                                                      มอเตอร์เป็นแบบแห้งอยู่ในกล่องที่เป็นเกลียว บรรจุในอุปกรณ์ป้องกันน้ำและมีสภาพเหมือนฉนวนกันน้ำชนิด B, E หรือ F (ขึ้นอยู่กับรุ่นของปั๊ม) ปั๊มแบบมาตรฐานทุกตัวจะสามารถทำงานในสภาพที่มีอุณหภูมิโดยรอบได้ถึง 40 องศาเซลเซียส

                                                                                                                                                                                                                                          
การป้องกันการรั่ว (Mechanical Seal)                                  
ปั๊มซูรูมิทุกตัวจะมี Mechanical Seal ที่ทำจาก Silicon Carbide จำนวน 2 คู่ติดตั้งอยู่ในห้องน้ำมัน (Oil Chamber) ทำให้มีน้ำมันหล่อลื่นหน้าสัมผัสของซีลกันรั่วอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดการสึกหรอน้อยมาก มีอายุการใช้งานนานกว่าระบบอื่นๆ ทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิของซีลตัวล่างในกรณีใช้งานแบบแห้งอีกด้วย


ตัวยกน้ำมัน (Oil lifter) (อยู่ระหว่างการจดลิขสิทธิ์)                       ตัวยกน้ำมันนี้ได้มีการพัฒนาเพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหล่อลื่น Mechanical Seal คู่บนโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางของเพลาช่วยให้น้ำมันสามารถหล่อลื่นซีลคู่บนได้อย่างสม่ำเสมอแม้ว่าน้ำมันหล่อลื่นจะมีอยู่ต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด อุปกรณ์ที่น่าทึ่งชิ้นนี้ไม่เพียงเป็นชิ้นส่วนที่ช่วยในการหล่อลื่นและระบายความร้านเท่านั้นแต่ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของซีล มีผลให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของการซ่อมบำรุงอีกด้วย

                                                                                                      อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์
การใช้ระบบ Circle Thermal Protector (CTP) ในปั๊มขนาดเล็ก นับว่าเป็นข้อดีเนื่องจากปกติปั๊มขนาดเล็กจะไม่มีอุปกรณ์ตู้ควบคุม การติดตั้งออุปกรณ์ป้องกันอยู่ภายในตัวมอเตอร์ CTP จะเป็นตัวตัดวงจรหากเกิดความร้อนสูงหรือเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีความผิดพรากของอุปกรณ์ เพื่อป้องกันความเสียหายของมอเตอร์
Miniature Thermal Protector (MTP) ระบบ MTP  ถูกติดตั้งไว้ในขดลวดของมอเตอร์โดยมีการเชื่อมต่อกันเป็นชุดอนุกรมส่วนสายไฟจะถูกต่อออกจากมอเตอร์เมื่อมอเตอร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากหน้าสัมผัสโลหะจะเปิดออก และทำให้แผงควบคุมทำการตัดกระแสไฟฟ้า



MTPs เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของปั๊มขนาด 11 kW ขึ้นไป ส่วน CTPs
จะใช้กับปั๊มที้มีขนาดเล็กกว่า  
                                                                                                                                                                          

                                                                                                                  เพลา            
เพลาที่ผลิตจากแสตนเลสทนแรงดึงสูงที่มีใช้อยู่ในปั๊มทุกประเภทและถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะส่งกำลังในภาวะมอเตอร์หมุนเต็มที่ อุปกรณ์นี้มีตลับลูกปืนคุณภาพสูง ประเภท C3 เป็นส่วนรองรับแรงจากเพลา
                                                                                                                                                                                                                                    อุปกรณ์จับการรั่วไหล (Leakage Sensor)
อุปกรณ์ตรวจวัดการรั่วไหลที่ผลิตจากแสตนเลส เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับปั๊มขนาดใหญ่อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ตรวจจับการรั่วของน้ำเข้าสู่ห้องน้ำมัน และจะทำการควบคุมให้ปั๊มหยุดทำงาน


วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อยากรู้ไหม! เครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม Tsurumi รุ่น UZ Series มีการทำงานอย่างไร?






     เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ยี่ห้อ ซูรูมิ Tsurumi รุ่น UZ Series เป็นปั๊มน้ำแบบจุ่มหรือที่เรียกว่าปั๊มแช่ โดยมีใบพัดชนิดใบพัดวน ( Vortex Impeller ) ใบพัดของเครื่องสูบน้ำจะทำให้น้ำในตัวเครื่องสูบเกิดน้ำวน และสร้างแรงดันที่สูงขึ้นเพื่อที่จะทำการส่งน้ำออกไปจากตัวเครื่องสูบน้ำโดยไม่ได้สัมผัสกับใบพัดมีความสามารถในการจัดการกับขนาดของตะกอน หรือขยะที่ปะปนกับน้ำได้ขนาดสูงสุดเท่ากับท่อน้ำออก 

     เครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม Tsurumi รุ่น UZ Series เหมาะสำหรับการใช้งานในน้ำเสียที่มีขยะ หรือมีตะกอนที่ไม่สามารถตัดได้ แต่ตะกอนนั้นต้องมีส่วนที่ยาวที่สุดไม่เกินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ตะกอนหรือขยะจึงจะสามารถผ่านใบพัดและเครื่องสูบไปได้ มีให้เลือกตั้งแต่ 1.5 - 11 กิโลวัตต์ ขนาดท่อตั้งแต่ 50 -100 มิลลิเมตร



วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ลักษณะใบพัด ของปั๊มจุ่ม (Submersible Pump) ยี่ห้อ TSURUMI

      ลักษณะใบพัด ของปั๊มจุ่ม (Submersible Pump) ยี่ห้อ TSURUMI
                                                                

ใบพัด VORTEX
ใบพัดแบบ Vortex เป็นการหมุนของใบพัดจะทำให้เกิดน้ำวนและทำให้น้ำจำนวนมากหมุนตัวและน้ำวนดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นกรวยเปิดอยู่ใต้ผิวน้ำทำให้ขยะที่ติดมากับน้ำเสีย สามารถส่งผ่านออกไปจากตัวปั๊มได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับใบพัดโดยตรง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีตะกอนขนาดใหญ่หรือมีลักษณะเป็นเส้นก็จะถูกสูบออกไปได้โดยไม่มีการอุดตัน เหมาะกับการใช้งานในน้ำเสียที่มีขยะที่ไม่สามารถตัดได้แต่ต้องมีขนาดไม่เกินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ขยะจึงจะสามารถผ่านไปได้

ใบพัด CUTTER
เป็นใบพัดชนิดที่มีใบพัดเดี่ยว ใบพัดเป็นแบบกึ่งเปิด (Semi-open impeller) โดยมีการติดตั้งโลหะ Tungsten carbide ไว้บนใบพัดซึ่งจะหมุน Suction Cover ที่มีลักษณะขอบคล้ายฟันเลื่อย เหมาะสำหรับน้ำเสียที่มีตะกอนที่ ซึ่งจะที่มีลักษณะเป็นเส้นใย และน้ำเสียที่มีตะกอนจำนวนมาก เช่น น้ำเสียจากบ่อเกรอะ น้ำทิ้งจากครัว งานน้ำเสียอุตสาหกรรมทั่วไป ทำให้ไม่เกิดการอุดตันของปั๊มน้ำ ท่อส่งน้ำและวาล์วได้  (Non-Clog)

                                                                                                                                                                                                                                                                                  

ใบพัด CHANNEL
เป็นใบพัดชนิดที่มีใบพัดเดี่ยว ใบพัดเป็นแบบกึ่งเปิด(Semi-open impeller) ใบพัดเดี่ยว โดยมีช่องที่กว้าง เชื่อมต่อระหว่างทางเข้าของน้ำ ไปยังทางออกของน้ำ ใบพัดมีร่องที่ขนาดแตกต่างกัน เพื่อให้สิ่งที่ปะปนมากับน้ำไหลผ่านใบพัดได้ตามขนาดของร่องโดยโครงสร้างของใบพัดออกแบบมาให้มีลักษณะเช่นนี้เพื่อให้ปั๊มน้ำสามารถสูบตะกอนจากทางเข้าของน้ำไปยังทางออกของน้ำได้ง่ายขึ้นและป้องกันการอุดตันของปั๊มน้ำ เหมาะกับงานสูบน้ำเสียและงานระบายน้ำทั่วไปทั้ง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น งานระบบบำบัดน้ำเสียของอาคาร ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ขนาดใหญ่


    
     
ใบพัด GRINDER
เป็นตัวบดที่ผลิตจากโลหะโครเมียมหล่อ มีความทนทานที่สูงต่อการสึกกร่อน มีกลไกการบดที่อยู่ด้านดูดของตัวปั๊มตะกอนจะแขวนลอย ที่จะถูกดูดเข้าไปจะถูกบด ทำให้มีขนาดเล็กและถูกสูบออกไป ตัวอุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาในการอุดตันในท่อขนาดเล็กได้ดี เหมาะสำหรับระบบท่อน้ำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อเล็กและอัตราการไหลของน้ำต่ำ ซึ่งจะเหมาะสำหรับการสูบน้ำจากบริเวณที่ห่างไกล



ทำความรู้จักเครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม Submersible Pump

          ปั๊มน้ำแบบจุ่ม (Submersible Pump ) หรือที่เราเรียกกันว่า ปั๊มไดโว่ เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และแบบที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) หรือใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่  ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย  นิยมใช้ในบ่อบำบัดน้ำเสีย, ถังเซฟติก, การสูบ  งานระบายน้ำทั่วไป การสูบน้ำจากน้ำท่วมภายในบ้าน สูบน้ำจากบ่อหรือสระน้ำ ใช้ทำน้ำพุ ใช้ปั๊มน้ำฉีดขึ้นที่สูง ใช้ฉีดน้ำล้างรถยนต์
          
ในการเลือกใช้ปั๊มน้ำแบบจุ่มนั้น มีให้เลือกหลายขนาดและหลายลักษณะใบพัด (เราจะมาอธิบายลักษณะใบพัดแบบต่าง ๆ ในบทความต่อ ๆ ไป)  หากเราต้องการให้สูบน้ำแบบรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้ปั๊มน้ำที่เป็นตัวที่มีวัตต์สูงๆ เช่น 200 -250 วัตต์ แต่ถ้าไม่ต้องการสูบน้ำมากก็ควรที่จะใช้ปั๊มที่มีวัตต์น้อย ก็จะทำให้ช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานได้ แต่ในการใช้งานอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้ปั๊มมีความร้อนสูงขึ้น ทำให้มอเตอร์ของปั๊มตัดการทำงานเองและยังทำให้ใบพัดของปั๊มล็อคอีกด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องถอดใบพัด เพื่อหมุนกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง จะทำสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ในตรงจุดนี้บางครั้งก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า การใช้งาน หรือการเอาตัวปั๊มน้ำไปเปิดใช้ทั้งวันทั้งคืน แต่พอปั๊มน้ำล็อคโดยปกติแล้วก็จะมักจะคิดว่าปั๊มน้ำเสีย ไม่สามารถใช้งานได้ แต่แท้จริงแล้วปั๊มแบบจุ่มหรือปั๊มน้ำแช่นั้นจำเป็นต้องมีการสลับการใช้งาน โดยสามารถติดตั้งตู้ควบคุมปั๊ม เพื่อกำหนดการทำงานได้ เพราะสำหรับปั๊มน้ำแบบจุ่มหรือปั๊มแช่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 ปั๊มแบบที่มีลูกลอย พอจุ่มลงน้ำสูง ลูกลอยจะลอยขึ้น พอดูดน้ำหมดลูกลอยก็จะจมลง เพราะตัวของปั๊มเป็นปั๊มน้ำอัตโนมัติ (Automatic pump ) ปั๊มน้ำก็จะสามารถตัดการใช้งานอย่างอัตโนมัติ


แบบที่ 2 ปั๊มแบบไม่มีลูกลอย ต้องเปิด-ปิดสวิทช์ด้วยตัวเอง

ปั๊มน้ำแบบจุ่มTsurumiBSeries




ควรเลือกปั๊มน้ำแบบจุ่มหรือปั๊มน้ำแช่ให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานเพื่อประหยัดในการใช้จ่ายและประหยัดพลังงานของตัวคุณเอง…

การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...