วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หลักการทำงานและชนิดใบพัดของปั๊มหอยโข่ง (CENTRIFUGAL PUMP)


ปั๊มน้ำหอยโข่ง (Centrifugal Pump) มีหลักการทำงานดังนี้

          ปั๊มแบบนี้ทำงานโดยอาศัยการหมุนของใบพัดหรืออิมเพลเลอร์ (Impeller) ที่ได้รับการถ่ายเทกำลังจากเครื่องยนต์ต้นกำลังหรือมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อใบพัดหมุนพลังงานจากเครื่องยนต์ก็จะถูกถ่ายเทโดยการผลักดันของครีบใบพัด (vane) ต่อของเหลวที่อยู่รอบๆทำให้เกิดการไหลในแนวสัมผัสกับเส้นรอบวง (Tangential flow) เมื่อมีการไหลในลักษณะดังกล่าวก็จะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal force) และเป็นผลให้มีการไหลจากจุดศูนย์กลางของใบพัดออกไปสู่แนวเส้นรอบวงทุกทิศทาง (Radial flow) ดังนั้นของเหลวที่ถูกใบพัดผลักดันออกมาก็จะมีทิศทางการไหลที่เป็นผลรวมของแนวทั้งสอง 

         เป็นปั๊มน้ำที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อภาคการเกษตร เพราะว่าปั๊มน้ำหอยโข่งสามารถสูบน้ำได้ปริมาณมาก  น้ำที่สูบไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำที่สะอาด เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำ ไม่ค่อยมีผลเสียต่อเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งมากนัก การใช้งานก็มีอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้แล้วปั๊มน้ำหอยโข่งยังเหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร การทำงานของปั๊มจะทำการสูบน้ำโดยใช้ระบบของใบพัด ความเร็วรอบสูง จะทำให้ได้ปริมาณน้ำมาก

ชนิดใบพัดของปั๊มน้ำหอยโข่ง (Centrifugal Pump)
          ใบพัดของปั๊มหอยโข่งแต่ละลักษณะใบพัดของปํมน้ำหอยโข่ง จะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานหลากหลายชนิด และสามารถแยกออกได้โดยพิจารณาได้จากลักษณะของแผ่นใบพัด จานประกับ (Shroud) ลักษณะการไหลของของเหลวเข้าและออกจากใบพัดหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งานของปั๊มน้ำนั้นๆ ซึ่งใบพัดสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ

          1. ใบพัดเปิด (Open Impeller) โดยทั่วๆไปแล้วครีบของใบพัดจะยึดติดอยู่กับจานประกับ (Shroud) สำหรับใบพัดที่จัดอยู่ในประเภทนี้จะมีแผ่นครีบบางส่วนยื่นออกมาจากจาน คือรัศมีของจานจะเล็กกว่ารัศมีของใบพัด

ใบพัดเปิด (Open Impeller)

          2. ใบพัดกึ่งเปิด (Semi - open Impeller) เป็นแบบที่รัศมีของจานประกับเท่ากับรัศมีของใบพัด ใบพัดประเภทนี้มีจานประกับเพียงด้านเดียว อีกด้านหนึ่งของใบพัดจะไม่มีฝาปิด

ใบพัดกึ่งเปิด (Semi - open Impeller)

          3. ใบพัดปิด (Closed Impeller) เป็นแบบที่ใบพัดปิดอยู่ด้วยจานประกับ 2 แผ่น มีทางให้ของเหลวไหลเข้าหรือทางดูดเพียงด้านเดียว เรียกได้ว่าเป็นแบบใบพัดปิดดูดด้านเดียว (Closed, single suction impeller) ส่วนใบพัดที่มีทางดูด 2 ด้านเรียกว่าเป็นแบบใบพัดปิดดูดสองด้าน (Closed, double suction impeller)

ใบพัดปิดดูดด้านเดียว (Closed, single suction impeller)


ใบพัดปิดดูดสองด้าน (Closed, double suction impeller)

          4. เปเปอร์สต๊อก (Paper-stock Impeller) เป็นใบพัดที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ใช้กับของเหลวที่มีความข้นเหลว (Consistency) สูง  แต่เดิมทีใบพัดในลักษณะนี้ออกแบบไว้เพื่อใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ต่อมานำมาใช้กับของเหลวอื่นด้วยแต่ก็ยังคงเรียกชื่อเดิม

เปเปอร์สต๊อก (Paper-stock Impeller)

          5. โปรเพลเรอ (Propeller) เป็นใบพัดที่เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยการผลักดันในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการไหลเข้ามาสู่ใบพัดเพียงอย่างเดียว ไม่มีแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง ปั๊มที่มีใบพัดประเภทนี้เรียกว่า Axial  Flow Pump

โปรเพลเรอ (Propeller)

          6. แบบผสม (Mixed Flow) เป็นแบบที่ของเหลวจะไหลเข้าสู่ใบพัดในแนวขนานกันกับแกนของเพลา แต่ตอนไหลออกจะทำมุม 45 องศา ถึง 80 องศา กับทิศทางเดิม ในลักษณะแบบนี้จะเรียกว่าการขับดันของเหลวมีทั้งแรงขับดันในทิศทางเดียวกันกับการไหลเข้าสู่ใบพัดและแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง

แบบผสม (Mixed Flow)

7. เรเดียลโฟล (Radial Flow) เป็นใบพัดแบบที่ของเหลวถูกดันออกไปโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว ทิศทางการไหลออกทำมุมฉากกับการไหลเข้า










การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...