วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

สาระน่ารู้ เกี่ยวกับระบบสปริงเกอร์ ช่วยประหยัดต้นทุน ในสวนได้นะ


สาระน่ารู้ เกี่ยวกับระบบสปริงเกอร์ ช่วยประหยัดต้นทุน ในสวนได้นะ
ระบบสปริงเกอร์

       ในหลายๆพื้นที่ในปัจจุบัน ต่างให้ความสำคัญใน เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างทรัพยากรน้ำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสอดคล้องในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดปัญหาในเรื่อง การขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ในหลายๆที่ของประเทศ วันนี้จึงอยากนำเสนอ บทความ ที่ช่วยในเรื่อง การวางระบบ การจัดน้ำ ให้เกิดประโยชน์ อย่างการ ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ มาฝากกันค่ะ
การจัดการะบบน้ำในสวน แม้จะเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยาก และอาจจะต้องลงทุนไปกับค่าอุปกรณ์ไปบ้าง เพราะชาวสวน หลายๆท่าน อาจจะติดปัญหาในการออกแบบระบบ หรือมีการว่าจ้าง เพื่อวางระบบ แต่ถ้าเรา ออกแบบระบบดี ก็จะช่วยให้เราทุ่นแรงและประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ ได้เยอะเลยนะ ซึ่งหลักการวางระบบ ก็จะประกอบไปด้วย
  1. การเลือกขนาดหรือประเภทของปั๊มน้ำที่ต้องการนำมาใช้งาน
  2. การเลือกขนาดของท่อน้ำสำหรับท่อหลักควารเป็นขนาดใหญ่
  3. การเลือกอุปกรณ์หรือท่อน้ำในการติดระบบน้ำ
  4. การต่อท่อน้ำไปยังพื้นที่ที่เราต้องการ
  5. ดูสภาพพื้นที่ ที่เราต้องการวางท่อน้ำ
  6. หัวสปริงเกอร์ หรือ อุปกรณ์กระจายน้ำ

การเดินระบบน้ำในสวน ต้องมีหลักการอย่างไรนะ

       แล้ววางระบบ ด้วย การติดตั้ง ระบบสปริงเกอร์ ทำอย่างไร ก่อนที่จะรู้วิธีการ ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ เรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่า สปริงเกอร์ คืออะไร สปริงเกอร์ คือ รูปแบบการรดน้ำ รูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะการทำงาน แบบฉีดอัดน้ำให้แตกกระจายเป็นสายๆ แล้วหมนุนเหวี่ยงน้ำไป รอบ ๆ พื้นที่ ที่เราต้องการ โดยที่ ระบบสปริงเกอร์ ก็มีหลากหลายประเภท เพื่อเหมาะกับการนำน้ำไปใช้ ในงานสวนแต่ละแบบ ได้แก่
  1. หัวแบบ MiniSprinker เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่เหมาะกับ งานระบบสวน ที่ต้องการกระจายน้ำในอัตราที่ไม่สูงมากนัก ในระยะ 2-3  เมตร เหมาะกับงาน ในสวนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือไม้พุ่ม 
  2. หัวแบบ Spray เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่มีลักษะการจ่ายน้ำในรูปแบบพัดกระจาย ในระยะ 5 -6  เมตร เหมาะกับงานในสวน ของบ้านพักอาศัย
  3. หัวแบบ Rotor เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่มีลักษณะการจ่ายน้ำแบบฉีดพ่นน้ำออกจากหัวจ่าย แบบหมุนรอบตัว หรือ ตามองศาที่กำหนดไว้ ระยะในการกระจายน้ำ อยู่ที่ 15-20 เมตร เหมาะกับงานในสวนที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
       เมื่อเรา เลือกประเภทของของ หัวสปริงเกอร์ที่เหมาะสมให้กับสวนของเราได้แล้ว ที่นี้เรา ก็มาดูองค์ประกอบง่าย ๆ ในการวาง ระบบสปริงเกอร์ ว่าต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
  1. หัวสปริงเกอร์ หรือ อุปกรณ์จ่ายย้ำ โดยเลือกจากจากลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นที่ของสวน
  2. วาล์ว ไฟฟ้า สำหรับการเปิดปิดน้ำ โดยเลือกวาล์วให้มี ค่าความต่างศักย์อยู่ที่ 24 โวลท์
  3. คอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมวาล์ว ปิดเปิดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
  4. เครื่องสูบจ่ายน้ำ หรือ ปั๊มน้ำ ควรเลือกปั๊มน้ำที่สามารถรองรับแรงดันน้ำ ได้ค่อนข้างสูง  ( ในบทความนี้จะยกตัวอย่าง ปั๊มน้ำที่สามารถนำมาใช้กับระบบสปริงเกอร์ได้ ) ได้แก่
ปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA รุ่น L-V Series
ปั๊มน้ำ INTERSIGMA L-V Series


ปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA รุ่น L-V Series เป็นปั๊มสูบจ่ายน้ำแบบหลายใบพัด ที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการสูบจ่ายน้ำ ในระยะทาง และ แรงดันค่อนข้างสูงที่ต้องการ อัตราการไหลของน้ำในปริมาณมาก มีใบพัดให้เลือก ตั้งแต่ 4 – 5  ใบพัด จุดเด่นของปั๊มน้ำ INTERSIGMA รุ่น L-V Series อยู่ที่ค่า อัตราการไหลของน้ำ (Flow) สูง

        ตามที่กล่าวมา ทั้งหมดแล้วนั้น สามารถสรุป ข้อดีของการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ได้ว่า เป็นระบบที่ให้ความสะดวกสบาย แก่ ผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลสวน สามารถรดน้ำได้ในวงกว้าง โดยประหยัดแรงและเวลา มีหลากหลาย หัวสปริงเกอร์ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของสวน จัดสรรทรัพยากรน้ำได้อย่างประหยัด เพราะสามารถควบคุมการเปิดปิด และปริมาณของน้ำได้  





วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

ปั๊มน้ำ เพื่องาน ก่อสร้าง ไม่ได้ มีแค่ TSURUMI รุ่น KTZ Series รุ่นเดียวนะ


ปั๊มน้ำ เพื่องาน ก่อสร้าง ไม่ได้ มีแค่ TSURUMI รุ่น KTZ Series  รุ่นเดียวนะ


       เมื่อ มีนาคม ปีที่แล้ว แอดมิน เคยนำเสนอบทความ เกี่ยวกับ ปั๊มแช่สำหรับก่อสร้าง KTZ Series ไปแล้ว (คลิกที่นี่ เพื่อกลับไปยังบทความ เครื่องสูบน้ำแบบแช่ สำหรับก่อสร้าง คือรุ่นอะไรบ้าง ) ครั้งนี้แอดมิน จะมา Update เพิ่มเติมว่า นอกจาก TSURUMI รุ่น KTZ Series ยังมีอีกหลายรุ่น ที่เหมาะนำไปใช้กับ งานก่อสร้าง ได้

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KTV Series

ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Vortex ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้ทนต่อการกัดกร่อนของสารละลายได้ ได้ในพื้นที่จำกัด เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้างและฐานราก สูบน้ำที่มีดินทราย โคลนปะปนอยู่ในน้ำได้

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KRS Series

ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Open  ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้สูบน้ำในงานเหมืองแร่ได้ และสามารถสูบน้ำได้ในระดับลึกมาก โครงสร้างเหล็กหล่อ ทนการกัดกร่อน  เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานโยธา มีความทนทานต่อหน้างานที่ใช้งาน

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น LH Series 


ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Open  ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้สูบน้ำได้ในปริมาณมาก การติดตั้งท่อกับตัวปั๊มมีความแข็งแรงคงทน มีการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องในระดับน้ำต่ำ เป็นปั๊มน้ำรุ่นที่ทนแรงดันของน้ำได้สูง สามารถนำไปปรับใช้สำหรับงานสูบน้ำลึกได้ เหมาะกับการใช้งานเหมืองแร่และยังสามารถ สูบน้ำที่มีดิน ทราย ในงานก่อสร้าง เช่น แม่น้ำ, เขื่อน, อุโมงค์, ทางด่วน, สะพาน, ท่าเรือ



การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...