วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เลือกใช้ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

เลือกใช้ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด




         หลังจากๆที่ได้ นำเสนอ บทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน ปั๊มน้ำ ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ ในหลายๆรุ่น ของ TSURUMI กันไปบ้างแล้ว ใน Blog นี่ วันนี้แอดมิน จึงอยากรวบรวมปั๊มน้ำ ที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดระเบิดได้ง่ายๆ มาฝากผู้อ่านกัน ในหัวข้อเรื่อง เลือกใช้ ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นทีเสี่ยงระเบิด เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำได้อย่างเหมาะสมและต้องกับความต้องการ
ก่อนที่เราจะรู้ว่า ปั๊มน้ำ TSURUMI  มีรุ่นไหนบ้างที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดระเบิด เรามาทบทวน วิธีการเลือกซื้อปั๊มน้ำ กันก่อนดีกว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราต้องรู้กัน

การเลือกซื้อปั๊มน้ำ
ในการเลือกซื้อปั๊มน้ำ ไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย เพียงแต่แค่เราต้องมีความเข้าใจในปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อปั๊มน้ำ ซึ่งปัจจัยหลักในการเลือกซื้อปั๊มน้ำ โดยหลักๆ ก็อยู่ด้วยกัน 2 ประการ ข้อแรก ก็คือ ประเภทของปั๊มน้ำที่เราต้องการใช้  เพราะปั๊มน้ำมีหลากหลายประเภท เราต้องเลือกประเภทที่เราต้องการนำไปใช้งานจริง ข้อสอง คือ ขนาดของปั๊มน้ำ เพราะขนาดของปั๊มน้ำมีผลต่อการการบริหารจัดการน้ำที่เราใช้ และนอกจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา ก็ยังมีสิ่งที่เราต้องนึกถึงอีก ก่อนการเลือกซื้อปั๊มน้ำ หลักๆที่เราจะต้องรู้เลยคือ
  • อัตราการไหลของน้ำ หรือค่า FLOW ที่เราต้องการ
  • ระยะส่งสูง หรือ ค่า HEAD ที่เราต้องการ
  • ระบบไฟฟ้าเป็นแบบใด เป็นแบบ 220 V หรือ 380 V
  • ความเร็วของรอบมอเตอร์ ที่เราต้องการ
  • ใช้ในหน้างานแบบใด

ทำไมต้องใช้ปั๊มน้ำให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

        คำนิยามของพื้นที่เสี่ยงระเบิด เป็นพื้นที่ หรือ อาคารสถานที่ ที่มีโอกาสจะเกิดไฟไหม้หรือ การระเบิด เนื่องจากสารไวไฟหรือ ไอของสารไฮโดรคาร์บอน ของเหลวไวไฟ และผงฝุ่นละอองที่ติดไฟ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน สถานประกอบการเกี่ยวกับบรรจุก๊าซและปิโตรเลียม โรงงานพ่นสี โรงงานแป้งมัน โรงงานทอผ้า
        ดังนั้น อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้ง่าย จึงต้องมีความมีเหมาะสมมาก ๆในการป้องกันการระเบิด เพื่อลดอัตราเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความปลอดภัย

ปั๊มน้ำ TSURUMI ที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น BX Series
เป็นปั๊มน้ำ TSURUMI ที่มีใบพัดแบบ CHANNEL เป็นปั๊มน้ำที่ตะกอนสามารถไหลผ่านได้ถึง 81 มม. สามารถใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดการระเบิดได้ตลอดเวลา เพราะได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 และนอกจากนี้ ปั๊มน้ำ TSURUMI BX Series นำมาใช้สูบน้ำทิ้งในสถานีสูบโรงงานบำบัดน้ำเสีย และโรงงานแปรรูป

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น CX Series
เป็นปั๊มน้ำ TSURUMI ที่มีใบพัดแบบ CUTTER สามารถใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดการระเบิดได้ตลอดเวลา เพราะได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 นิยมนำ ปั๊มน้ำ TSURUMI CX Series มาใช้ในงานกำจัดน้ำเสียและของเสีย สิ่งแปลกปลอมในโรงงานบำบัดน้ำเสียและโรงงงานอุตสาหกรรม

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น UX Series
  เป็นปั๊มน้ำที่มีใบพัดแบบ Vortex สำหรับน้ำเสีย  สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงถ้าเกิดการจุดระเบิด เช่น การเกิดประกายไฟ พื้นผิวที่มีความร้อน หรือไฟฟ้าสถิต เป็นปั๊มน้ำได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 เหมาะน้ำเสียในน้ำที่มีของแข็งและวัสดุเส้นใยและการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KTX Series
เป็นปั๊มน้ำที่มีใบพัดแบบ Semi-open สามารถนำมาใช้งานกับพื้นที่อันตรายจากไอน้ำมันและเหมืองแร่ ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Class 2  Group 4 ซึ่งเทียบเท่ากับ D II T4

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ


       โดยปกติแล้ว สภาพทั่วไปของน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าความต้องการออกซิเจน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามปริมาณความต้องการออกซิเจนของจุลินทรีย์ และขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำเสีย หรือ ความเข้มข้นของมวลสารอินทรีย์ ดังนั้น การออกแบบให้มีค่าออกซิเจน ตามที่ต้องการได้นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัย อุปกรณ์ เพื่อช่วยให้สามารถปริมาณ ออกซิเจนได้ วันนี้จึง ได้หยิบยก อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตออกซิเจนในน้ำ อย่าง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ในหัวข้อเรื่อง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ มาฝากผู้อ่านกัน
การเติมอากาศใต้น้ำโดยทั่วไป
ในปัจจุบันการ การเติมอากาศใต้น้ำ นับเป็นปัจจัยสำคัญ ในการผลิตออกซิเจน เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ระบบนิเวศดีขึ้น หรือ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในรูปแบบของอุปโภค ซึ่ง การเติมอากาศใต้น้ำ สามารถทำได้ ทั้งในรูปแบบ ของ การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ยกตัวอย่าง เช่น การเติมอากาศในระบบบ่อผึ้ง  ที่ให้ออกซิเจนในอากาศแพร่ลงในเฉพาะที่ผิวหน้าของบ่อผึ้งเท่านั้น คือ เป็นการเติมอากาศแบบไม่ต้องการพลังงานในการเติมอากาศ  แต่ถ้าหากมีเรื่องพลังงาน เข้ามาเกี่ยวข้องใน การเติมอากาศ ก็ต้องอาศัย การเติมอากาศแบบเครื่องกล อย่างเช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มาช่วย เพิ่มปริมาณออกซิเจน ให้เพียงพอตามความต้องการ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีหลากหลาประเภทมาก ได้แก่

ประเภทของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ

  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ JET AERATOR เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบอเนกประสงค์ ที่นิยมใช้ ในบ่อกักเก็บน้ำฝน ,บ่อเลี้ยงปา ที่มีความลึก 1.5 เมตร ขึ้นไป และต้องการออกซิเจน BOD ที่สูง
  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบมี ฟังก์ชัน การทำงานแบบสูบอากาศ ด้วยใบพัด ชนิดกึ่งเปิด (Semi-open) เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ เพื่อช่วยให้ออกซิเจนสามารถแตกตัวได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
ยกตัวอย่างเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ แบบ Aerator

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ TSURUMI รุ่น TRN Series เป็นเครื่องเติมอากาศแบบจุ่ม แบบแช่ ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ ในบ่อที่มีลักษณะแบบบ่อกลมหรือบ่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Ejector เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบมี ฟังก์ชัน การทำงานแบบดูดอากาศด้วยตนเอง และพ่นกระแสน้ำ เพื่อเป็นการถ่ายเท ออกซิเจน
ยกตัวอย่าง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Ejector
เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ KIRA  รุ่น EP Series เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่อง การผลิตปริมาณแรงลมมาก และผลิตฟองอากาศให้มีขนาดเล็ก

ความสำคัญของการใช้ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ในระบบบำบัดน้ำเสีย

เหตุผลที่ใช้ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ก็เพื่อ เติมอากาศและเติมออกซิเจนในน้ำเสีย การเติมอากาศ และการเติมออกซิเจนถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียเลยก็ว่าได้ เพราะหากระบบบำบัดน้ำเสีย ขาดออกซิเจนไป  พวกจุลินทรีย์ในน้ำก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น การมีเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ก็จะมีส่วนช่วยให้มีปริมาณออกซิเจน เพิ่มสูงขึ้น เพื่อ ให้ระบบ สามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถน้ำเสียได้มากขึ้น

และนี้ก็คือทั้งหมด ของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ที่เราได้นำมาฝากกัน ในสัปดาห์นี้ หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย และเราจะหาบทความดีดี มาฝากกันเรื่อยๆ สำหรับสัปดาห์นี้ สวัสดีค่ะ




การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...