วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เครื่องเติมอากาศ SANCO รุ่น SCD Series

 

 

เครื่องเติมอากาศ SANCO รุ่น SCD Series หรือ Root blower ชนิดแนวตั้ง (Vertical Three Lobes Roots Blower) รูทโบลเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง โครงสร้างมีความเสถียร มีการติดตั้งมอเตอร์ในแนวตั้ง เป็นเครื่องเติมอากาศที่มีท่อส่ง-ท่อดูดติดตั้งทั้งสองด้านของเครื่อง มีการสั่นสะเทือนน้อย วิธีบำรุงรักษาก็ง่ายขึ้น

คุณสมบัติ 

  • ขนาดท่อ : 40 mm ~ 150 mm (1.5″~6″)
  • ปริมาณลม : 0.4 ~ 22 m3/min (24 ~ 1320 m3/hr
  • แรงดัน : 0 ~ 6000 mmAq (0~0.6 kgf/cm2)


ส่วนประกอบเครื่องเติมอากาศ SANCO รุ่น SCD Series
1. Main Blower 
2. Suction Silencer
3. Discharge Silencer (Not for SCD40-45)
4. Flexible Joint (Not for SCD40-45)
5. Safety Valve
6. Check Valve
7. Pressure Gauge

การใช้งาน
ใช้ในคอนโดมิเนียม 
โรงแรม โรงพยาบาล 
โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ 
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ฟาร์มเลี้ยงปลา

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เครื่องเติมอากาศ SCB Series

 


เครื่องเติมอากาศ SANCO รุ่น SCB Series หรือ รูทโบลเวอร์ (Three Lobes)
มีโครงสร้างที่เรียบง่าย แข็งแรง ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานของเครื่องเติมอากาศ Sanco รุ่น SCB 
จะขับด้วยมอเตอร์ผ่าน Pulley และสายพานทั้งตัวเครื่องพร้อมมอเตอร์ มีอุปกรณ์ติดตั้งอยู่บนแท่นเครื่องเดียวกันมีท่อ Silencer ทั้งทางดูดกับทางจ่ายทำให้ช่วยลดเสียง ลมที่แรงคงที่ ลดการสั่นสะเทือน ปราศจากละอองน้ำมัน ใช้พลังงานน้อย มีวาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องเกิดความเสียหาย

เครื่องเติมอากาศครบชุดประกอบด้วย
1. Main Body
2. Suction Silencer
3. Discharge Silencer
4. Check Valve
5. Relief Valve
6. Pressure Gauge
7. T-Joint

การใช้งานของเครื่องเติมอากาศ Sanco รุ่น SCB Series
- เหมาะกับงานบำบัดน้ำเสีย 
- งานสุขาภิบาล
- คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล
- อุตสาหกรรมต่างๆ
- ระบบงานที่ต้องการลมเป่าย้ายวัตถุ
- ฟาร์มสัตว์น้ำขนาดใหญ่ 


วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ชนิดของปั๊มหอยโข่ง

 ชนิดของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump)



ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) คือ ปั๊มน้ำแรงดันสูง มีรูปร่างลักษณะของตัวปั๊มที่เหมือนขดของหอยโข่ง นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายใช้ในการสูบน้ำทั่วไปที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลางไปถึงมาก ส่วนมากเราจะพบในการใช้งานในด้านงานสูบน้ำในระบบหล่อเย็น ในการใช้เปลี่ยนถ่ายความร้อน งานสูบน้ำในสวนผัก งานเกษตร งานระบบบำบัดน้ำ ชลประทาน ในระบบครัวเรือนและใช้ในงานโรงงานอุตสาหกรรม

ชนิดของปั๊มหอยโข่ง
1.ปั๊มหอยโข่ง (Volute Type) เป็นปั๊มที่ของเหลวสามารถไหลเข้ามาสู่จุดศูนย์กลางของใบพัดที่มีทิศทางขนานกันกับแกนของเพลา แล้วไหลออกทำมุมอยู่ที่ 90 องศากับทิศทางที่ไหลเข้ามา ส่วนช่องของทางเดินของของเหลวจากลิ้นของตัวปั๊มมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้นตามความยาวของเส้นรอบวงในทิศทางการหมุนของใบพัด บางแบบมีการเพิ่มช่องทางเดินมากขึ้น เพื่อจะช่วยให้แรงกดบนเพลาของปั๊มมีความสมดุลดีขึ้น

2. ปั๊มหอยโข่งแบบมีครีบผันน้ำ (Diffuser Type) เป็นปั๊มที่มีลักษณะของใบพัดและรูปร่างภายนอกของตัวปั๊ม(Casing) เหมือนกับแบบ Volute Type ทุกอย่าง แต่จะมีความแตกต่างกันเพียงแค่ภายในจะมีครีบผันน้ำ (Guide Vanes) ตัวของครีบที่ติดกับตัวปั๊มจะช่วยให้ของเหลวที่ถูกผลักดันออกมา ไปในทิศทางของช่องทางเดินที่เป็นตัวโค้งได้ดีมากขึ้นและทำให้มีการสูญเสียพลังงานที่น้อยลง

3. ปั๊มหอยโข่งแบบเทอร์ไบน์ (Turbine Type) หรือเรียกกันว่า Vortex , Periphery หรือ Regenerative Turbine มีลักษณะคือใบพัดจะเป็นแผ่นแบบกลมมีความหนา ครีบของใบพัดเกิดจากการเซาะร่องบนขอบของแผ่นใบพัด ทำให้เกิดเป็นแผ่นครีบแคบๆ และสั้นในแนวรัศมี (Radial Direction) ในขณะที่ของเหลวไหลเข้ามาจากทางดูดสู่ช่องว่างระหว่างครีบของใบพัด จะถูกเหวี่ยงออกด้วยแรงหนีศูนย์กลาง แต่ด้วยที่ผนังของตัวปั๊มถูกปิดกั้นอยู่ ของเหลวดังกล่าวก็จะวิ่งย้อนกลับมาที่ช่องว่างระหว่างใบพัดและถูกเหวี่ยงออกไปอีกครั้ง พลังงานที่ของเหลวได้รับจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ของเหลววิ่งเข้าสู่ช่องว่างระหว่างครีบของใบพัดและถูกเหวี่ยงออกไป

4. ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบ Vertical Turbine (Vertical  Turbine Type) หรือเรียกว่าปั๊มน้ำบาดาล (Deep Well หรือ Deep Well Turbine Pump ) มีใบพัดที่เป็นแบบ Radial Flow หรือ Mixed Flow ส่วนประกอบของปั๊มประกอบไปด้วยท่อทรงกระบอกเพื่อให้สามารถบรรจุในท่อบ่อน้ำบาดาลได้ ส่วนใหญ่แล้วบ่อน้ำบาดาลจะมีระดับที่ลึกมาก จำเป็นต้องออกแบบมาเพื่อให้ใบพัดและตัวของปั๊มสามารถต่อเข้าด้วยกันหลายชุด ต่อเข้าด้วยกันได้เป็นชั้นๆ โดยอาศัยเพลาหมุนใบพัดท่อนเดียวกัน เรือนปั๊ม(Casing)ก็ต้องดัดแปลงให้รับน้ำจากใบพัดแล้วส่งขึ้นไปสู่ทางดูดของใบพัดตัวบนได้  และเนื่องจากลักษณะของเรือนปั๊มแตกต่างจากแบบหอยโข่ง (Volute)

5. ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบ Mixed Flow คือแบบหอยโข่ง (Volute) และแบบมีครีบผันน้ำ (Diffuser) ทำหน้าที่รวบรวมหรือผันของเหลวที่ไหลออกมากจากใบพัดไปสู่ช่องทางการจ่ายใบพัดที่ใช้กับปั๊มทั้งสองแบบ โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Radial Flow คือของเหลวจะไหลเข้าสู่จุดศูนย์กลางของใบพัดในแนวขนานกันกับเพลา แล้วไหลออกด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

6. ปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบ Axial Flow เป็นแบบ Axial Flow ที่ของเหลวไหลเข้าและไหลออกจากใบพัดในทิศทางขนานกันกับแกนของเพลา แรงที่เพิ่มพลลังงานให้กับของเหลวจะเป็นแรงที่ผลักดันไปในทิศทางของการไหลเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่มีแรงเหวี่ยงศูนย์กลาง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ปั๊มสูบน้ำเสีย KIRA รุ่น NP Series

 


ปั๊มสูบน้ำเสีย KIRA รุ่น NP Series สามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง?
ปั๊ม KIRA รุ่น NP Series เป็นปั๊มใช้สำหรับในการสูบน้ำเสีย (
Submersible pump) ที่ทำมาจากเหล็กหล่อคุณภาพสูง มีคุณสมบัติเด่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทนต่อการเกิดสนิม เพราะมีการเคลือบด้วยสาร Epoxy อย่างดี มั่นใจในเรื่องของการทนต่อการกัดกร่อน มีใบพัดที่เป็นแบบ non-clog มีการป้องกัน IP68 มีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ ตัวโซ่ยกเป็นวัสดุทำมาจากสแตนเลสเกรดดี

รายละเอียดของ ปั๊มสูบน้ำเสีย KIRA รุ่น NP Series 

การใช้งานของปั๊มสูบน้ำเสีย KIRA รุ่น NP Series

ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

- ท่อระบายน้ำ ระบบสุขาภิบาล 

- การบำบัดน้ำเสียในภาคเกษตรกรรม งานฟาร์ม ภาคการควบคุมน้ำท่วม

- เหมาะกับงานเหมืองแร่ คอนโดมิเนียม โรงพยาบาล สำนักงาน ระบบสุขาภิบาลน้ำ และการใช้งานอาคารอื่นๆ






วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ลูกลอย (Float Switch)

 



ลูกลอย หรือ สวิตช์ลูกลอย (Float Switch) เป็นตัวช่วยในการวัดระดับของน้ำ ซึ่งสามารถสัมผัสกับน้ำได้โดยตรง แต่จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป มีลักษณะกลม, แบน หรือลักษณะทรงกระบอกแต่ต้องมีความหนาแน่นที่น้อยกว่าของเหลวเพื่อทำให้ลูกลอยสามารถลอยตัวอยู่ได้
ส่วนวัสดุที่สามารถใช้ทำลูกลอย หรือ สวิตช์ลูกลอยมีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความทนทานของวัสดุนั้นๆ แต่โดยทั่วไปลูกลอยมักจะทำผลิตจาก PVC (polyvinyl chloride) และผลิตจาก PP (Polypropylene) จะมีความทนทานมากกว่า อายุการใช้งานนานกว่าเป็นที่นิยมใช้กว่า 

วิธีการใช้งานของ
ลูกลอยสามารถใช้ร่วมกับระบบควบคุมปั๊มตามความต้องการของผู้ใช้งาน วิธีการติดตั้งลูกลอยจะลอยทำมุมประมาณ 45 องศา เพื่อความแม่นยำในการตัด-ต่อการทำงาน


สวิตช์ลูกลอย SANCO รุ่น FA-1050-6 

ผลิตมาจากพลาสติก ABS ซึ่งใช้สวิตซ์คอนโทรลเป็นแบบ Micro Switch ระดับการป้องกัน IP68 ความยาวสายไฟ 6 เมตร สามารถใช้งานได้ทั้งในน้ำดีและน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นใช้งาน
ถังเก็บน้ำดี ในสำนักงาน ระบบบำบัดน้ำเสีย ในห้างสรรพสินค้า ในโรงแรม การระบายน้ำลานจอดรถชั้นใต้ดิน สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำเสีย เป็นต้น



วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ปั๊มสูบน้ำเสีย TSURUMI รุ่น KTZ Series

ปั๊มสูบน้ำเสีย ปั๊มแช่ ปั๊มน้ำเสีย ยี่ห้อ ซูรูมิ TSURUMI (Submersible Voltex Impeller Pump) ได้การรับรองจากสถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรม และได้รับการยอมรับนิยมใช้งานมากที่สุดในวงการอุตสาหกรรมของ ระบบบำบัดน้ำเสีย

ปั๊มแช่ TSURUMI รุ่น KTZ Series ออกแบบมาให้มีกำลังสูงๆ เพื่อสำหรับใช้ในงานระบายน้ำหนักๆ 
มีใบพัดแบบเปิด 
(Open Impeller) ที่ใช้สำหรับในงานก่อสร้าง มีโครงสร้างแข็งแรงทนทาน สามารถใช้ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานด้านวิศวกรรมโยธา หรืองานดูดบ่อน้ำ บ่อลึก เป็นต้น
ปั๊มสูบน้ำเสีย TSURUMI รุ่น KTZ Series เหมาะสำหรับใช้กับ งานระบายน้ำใต้ดินต่างๆ งานระบายน้ำทิ้ง งานสูบน้ำจากแม่น้ำหรือลำคลอง งานระบายน้ำในงานก่อสร้าง งานระบายน้ำที่มีทรายผสมอยู่ สามารถใช้ถ่ายน้ำจากบ่อเลี้ยงปลา ตู้ปลา บ่อพักน้ำ 



วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การติดตั้งปั๊มน้ำหอยโข่ง

 

เราจะมาบอกถึงเคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับการติดตั้ง ปั๊มน้ำหอยโข่ง (Centrifugal pump) ซึ่งมีปัจจัยต่างๆในการติดตั้งปั๊มน้ำหอยโข่งนั้น มีอะไรบ้าง เริ่มที่..

- ให้เรากำหนดความต้องการใช้งานว่า เราจะนำปั๊มน้ำหอยโข่งไปใช้ในงานอะไร เช่น การอุปโภค บริโภค , ใช้งานตามที่อยู่อาศัย

- ตำแหน่ง สถานที่ จุดติดตั้งปั๊มน้ำหอยโข่ง คือ สิ่งที่จะช่วยทำให้ปั๊มน้ำทำงานได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ต้องหลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มน้ำบริเวณกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ควรวางปั๊มน้ำให้ห่างจากกำแพงไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตรเพื่อที่จะช่วยในการระบายความร้อน

- วิธีการวางระบบของท่อน้ำที่ดี จะช่วยทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้กว่าเดิม ตำแหน่งที่ติดตั้ง ของปั๊มน้ำ ควรอยู่ใกล้ๆกับบริเวณถังเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น

- ระบบไฟฟ้า ที่สำคัญเลยจะต้องมีระบบสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าลัดวงจร สายไฟและเบรคเกอร์ต้องมีขนาดตามมาตรฐานของปั๊มน้ำหอยโข่งแต่ละรุ่น

การติดตั้งปั๊มน้ำหอยโข่ง
1.เริ่มที่กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งปั๊มน้ำหอยโข่งให้อยู่ใกล้ๆ กับถังเก็บน้ำ เพราะหากเกิดกรณีปั๊มน้ำทำงานผิดปกติให้ปิดวาล์วถังเก็บน้ำได้ทันที และเพื่อช่วยให้ปั๊มน้ำไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

2.ให้เดินระบบสายไฟมายังตำแหน่งที่จะติดตั้ง โดยให้สูงจากพื้นมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป

3.การเดินระบบท่อดูด (Suction)
3.1 หากระดับน้ำที่จะดูดต่ำกว่าปั๊มน้ำ ให้เดินท่อประปาที่ใส่วาล์วกันน้ำกลับมาติดไว้ด้วย โดยให้ตำแหน่งของวาล์วสูงจากบริเวณก้นถังเก็บน้ำ 30-50 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ปั๊มน้ำดูดสิ่งสกปรกขึ้นมา จากนั้นให้เดินแนวท่อประปาหันเข้าไปที่ตัวปั๊ม โดยให้เอียงท่อประปาลงไปหาถังเก็บน้ำเพื่อเป็นการไล่อากาศออก ก่อนที่จะนำท่อส่งเข้าไปที่ปั๊มน้ำ
3.2 หากระดับน้ำที่จะดูดสูงกว่าปั๊มน้ำ ให้เดินท่อประปาจากถังเก็บน้ำ ใส่วาล์วปิด-เปิด ใกล้ถังเก็บน้ำ ให้ต่อท่อประปาเข้ากับตัวปั๊มในท่อดูด ท่อต้องมีลักษณะแบบตรง มีระยะความยาวที่ 6-8 เท่าของขนาดท่อ ทางเราขอแนะนำให้ระดับน้ำที่จะดูดอยู่สูงกว่าปั๊มน้ำเพราะจะทำให้มีน้ำจ่ายน้ำเข้าในปั๊มอยู่ตลอดเวลา

4.การเดินระบบท่อจ่าย (Discharge)
4.1 ตรงด้านจ่ายของตัวปั๊ม ใส่วาล์วเปิด-ปิด 1 ตัวเพื่อที่จะทดสอบการรั่วซึมของระบบน้ำ ไม่ให้น้ำย้อนกลับในกรณีที่เราซ่อมปั๊ม
4.2 ทำการต่อข้อสามทางกับระบบน้ำประปาเพื่อสำรองการใช้งานในกรณีไฟดับ ปั๊มน้ำไม่ทำงานก่อนต่อท่อประปาไปที่จุดใช้งาน

การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...