วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

หลักการ เลือกซื้อ ปั๊มน้ำบาดาล

หลักการ เลือกซื้อ ปั๊มน้ำบาดาล


          อยากได้ปั๊มน้ำที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน ก็ต้องรู้จักวิธีเลือกซื้อให้ถูกวิธี วันนี้แอดมิน เลยขอนำเสนอ บทความที่เกี่ยวข้องกับ ปั๊มน้ำบาดาล ในหัวข้อ หลักการ เลือกซื้อ ปั๊มน้ำบาดาล มาฝากผู้อ่าน ทุกๆ คน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปใช้ประโยชน์
ปั๊มน้ำบาดาล คือ ปั๊มน้ำที่เหมาะสำหรับการดูดน้ำลึก เช่น การดูดน้ำในบ่อขุดหรือบ่อบาดาลที่มีความลึกมากๆ มีระบบการทำงานแยกเป็น 2 ส่วน คือตัวปั๊มน้ำ และตัวมอเตอร์ ปั๊มน้ำชนิดนี้จะเป็นปั๊มน้ำที่นำมาใช้งานเฉพาะทาง
ปั๊มน้ำบาดาล หรือ เครื่องสูบน้ำบาดาล โดยส่วนใหญ่ถูกนิยมนำมาใช้งาน ในการสูบน้ำขึ้นมาใช้ในส่วนของ บ้านพักอาศัย หรือในสวน เพื่อความสะดวกสบาย แต่พื้นที่บางพื้นที่ที่เราต้องติดตั้งปั๊มน้ำบาดาล อาจจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราก็ควรมี หลักการเบื้องต้นในการเลือก ปั๊มน้ำบาดาล ได้แก่

ข้อมูลที่ควรรู้
  1. ข้อมูลจำเพาะของบ่อน้ำบาดาล ได้แก่ ชนิดของบ่อ,ขนาดของบ่อ,ความลึกของบ่อ,ระดับท่อกรองน้ำ,ปริมาณน้ำ,ระดับคงที่,ระดับน้ำลด
  2. ข้อมูลของ ปั๊มน้ำ ได้แก่ คุณสมบัติของปั๊มน้ำ และ วิธีการติดตั้ง
  3. แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ เราต้องศึกษาข้อมูลของปั๊มน้ำอย่างละเอียด โดยอ่านจากตัวเนมเพลต หรือคู่มือที่มีมาให้ โดยจุดสำคัญก็จะมี คำอธิบายคุณลักษณะ ,ขนาดของท่อส่ง (Discharge Size),กำลังมอเตอร์ (Motor HP(kW) , ระยะส่งสูง (Head),อัตราการไหล (Flow), สมรรถนะของระบบไฟ (Phase) และความเร็วรอบ (RPM)

หลักการเลือกซื้อปั๊มน้ำบาดาล

เหตุที่ต้องมีหลักการเลือกซื้อปั๊มน้ำบาดาล เพราะในบางพื้นที่ ที่ไม่มีไฟฟ้า น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในการใช้ปั๊มน้ำ ดังนั้น ก็จะแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรจำเป็นต้องซื้อเครื่องปั่นไฟเพิ่มอีก ก่อนที่จะซื้อปั๊มน้ำและติดตั้งปั๊มน้ำบาดาล แล้วถึงแม้ว่า จะไม่มีปัญหาเรื่องของการใช้ไฟฟ้า แต่ปั๊มน้ำบาดาลบางตัว บางรุ่น บางยี่ห้อ ก็กินไฟมากเกินไป จนกลายเป็นว่าเสียค่าใช้จ่าย ในเรื่องของค่าไฟมากเกินไป ดังนั้นก็ควรเลือกปั๊มน้ำให้ดี คือ
  1. หากต้องการปั๊มน้ำบาดาลที่ต้องการสูบน้ำได้ลึกมาก ควรใช้ไฟฟ้าแบบ 3 Phase 
  2. หากต้องการปั๊มน้ำบาดาลที่ต้องการอัตราการไหลของน้ำมาก เราควรเลือกปั๊มน้ำบาดาลขนาดเล็ก ๆ แต่หลาย ๆตัว ให้แต่ละตัวทำหน้าที่สูบน้ำไป แม้ว่าตัวตัวหนึ่งเกิดเสียขึ้นมา ก็ยังมีตัวปั๊มอื่น ๆ ทำงานอยู่ เพราะถึงจะมีปั๊มน้ำที่มีค่า HPสูงและสูบน้ำได้มากจริง ๆ แต่จะเกิดผลกระทบในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าที่สูงตามมาด้วยเช่นกัน



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฉงนสงสัย เมคคานิคอลซีล สำคัญอย่างไรในปั๊มน้ำ

ฉงนสงสัย เมคคานิคอลซีล สำคัญอย่างไรในปั๊มน้ำ



นอกจากปัจจัยพื้นฐานที่เป็นหลักในการเลือกซื้อปั๊มน้ำแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกปั๊มน้ำที่ได้ประสิทธิภาพสูงที่ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้งาน ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ที่มีผลต่อปัจจัยในการเลือกซื้อปั๊มน้ำมาใช้ให้ตรงความต้องการอีกด้วย เพื่อให้มั่นใจต่อการใช้งาน วันนี้เลย ขอเสนอบทความที่เป็นองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับ ปั๊มน้ำ อย่าง เมคคานิคอลซีล ในหัวข้อ ฉงนสงสัย เมคคานิคอลซีล สำคัญอย่างไรในปั๊มน้ำ มาฝากกันในสัปดาห์นี้

เมคคานิคอลซีล คือ
เมคคานิคอลซีล หรือ Mechanical Seal เป็นอุปกรณ์ซีลกันรั่วชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากวัสดุหลายชนิด นำมาประกอบรวมกันเป็นเมคคานิคอลซีล โดยส่วนใหญ่จะนำตัวเมคคานิคอลซีลใส่ไว้บนแกนเพลา ตรงบริเวณห้องซีลของอุปกรณ์เพลาหมุนต่างๆ เพื่อป้องกัน การรั่วซึมของของเหลวต่างๆ

องค์ประกอบของเมคคานิคอลซีล
  • หน้าสัมผัส ( Seal Face ) หน้าสัมผัสของเมคคานิคอลซีล มีทั้งหมด 2 แบบคือ แบบหมุน (Rotary Seal Face) และแบบอยู่กับที่ (Stationary Seal Face )
  • สปริง (Spring)  ในเมคคานิคอลซีลเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายสปริง
  • Secondary Seal หรือ O-ring หรือ ยาง (Bellow) ในเมคคานิคอลซีล
หลักการเลือกใช้เมคคานิคอลซีล
เมคคานิคอลซีล โดยหลักการแล้ว ควรต้องศึกษามาก่อนว่าต้องการใช้ชนิดของเมคคานิคอลซีลแบบใด เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งสิ่งที่ต้องทราบคือ
  1. ชนิดของเมคคานิคอลซีล
  2. ลักษณะความต้องการที่จะนำเมคคานิคอลซีลไปใช้งาน
  3. ประเภทของเหลวที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมด ที่จะนำเมคคานิคอลซีลไปใช้งาน
หน้าที่หลักของเมคคานิคอลซีลในปั๊มน้ำ
โดยหลักๆแล้ว เมคคานิคอลซีล จะมีหน้าที่ในการป้องกันน้ำรั่วซึมจากฝั่งห้องปั๊มไปยังฝั่งมอเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ตัวปั๊มน้ำ

ตัวอย่างปั๊มน้ำที่มีเมคคานิคอลซีลเป็นองค์ประกอบ
ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น NP Series ปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มเคลือบด้วย Epoxy ทนการกัดกร่อนของน้ำเสียที่มีส่วนผสมของสารเคมี, Oil Lifter ลำเลียงน้ำมันไปหล่อเลี้ยงชุดแมกซีล เพื่อลดความร้อนสะสมของแมกซีล,ระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้ จากความร้อนสะสม กรณีที่ปั๊มทำงานผิดปกติ  ยืดอายุการใช้งาน  สินค้าคุณภาพ จากประเทศญี่ปุ่น

         สรุปตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมด เมคคานิคอลซีล ถูกนิยมนำมาใช้เป็นองค์ประกอบ ทั้งแบบที่เป็นรูปทรงแข็ง และยืดหยุ่น เพื่อรักษาความคงที่ในการรักษาให้หน้าสัมผัสที่เป็นส่วนสำคัญที่ต้องปิดชิดกันอยู่ตลอดเวลา องค์ประกอบเหล่านี้มีทั้งแบบไฮโดรลิกและแบบ mechanically ที่มีสปริงหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อคงไว้ให้หน้าสัมผัสอยู่ชิดกัน ตลอดการใช้งาน

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เลือกใช้ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

เลือกใช้ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด




         หลังจากๆที่ได้ นำเสนอ บทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน ปั๊มน้ำ ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ ในหลายๆรุ่น ของ TSURUMI กันไปบ้างแล้ว ใน Blog นี่ วันนี้แอดมิน จึงอยากรวบรวมปั๊มน้ำ ที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดระเบิดได้ง่ายๆ มาฝากผู้อ่านกัน ในหัวข้อเรื่อง เลือกใช้ ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่นไหนดี ให้เหมาะกับพื้นทีเสี่ยงระเบิด เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำได้อย่างเหมาะสมและต้องกับความต้องการ
ก่อนที่เราจะรู้ว่า ปั๊มน้ำ TSURUMI  มีรุ่นไหนบ้างที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดระเบิด เรามาทบทวน วิธีการเลือกซื้อปั๊มน้ำ กันก่อนดีกว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราต้องรู้กัน

การเลือกซื้อปั๊มน้ำ
ในการเลือกซื้อปั๊มน้ำ ไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย เพียงแต่แค่เราต้องมีความเข้าใจในปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อปั๊มน้ำ ซึ่งปัจจัยหลักในการเลือกซื้อปั๊มน้ำ โดยหลักๆ ก็อยู่ด้วยกัน 2 ประการ ข้อแรก ก็คือ ประเภทของปั๊มน้ำที่เราต้องการใช้  เพราะปั๊มน้ำมีหลากหลายประเภท เราต้องเลือกประเภทที่เราต้องการนำไปใช้งานจริง ข้อสอง คือ ขนาดของปั๊มน้ำ เพราะขนาดของปั๊มน้ำมีผลต่อการการบริหารจัดการน้ำที่เราใช้ และนอกจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา ก็ยังมีสิ่งที่เราต้องนึกถึงอีก ก่อนการเลือกซื้อปั๊มน้ำ หลักๆที่เราจะต้องรู้เลยคือ
  • อัตราการไหลของน้ำ หรือค่า FLOW ที่เราต้องการ
  • ระยะส่งสูง หรือ ค่า HEAD ที่เราต้องการ
  • ระบบไฟฟ้าเป็นแบบใด เป็นแบบ 220 V หรือ 380 V
  • ความเร็วของรอบมอเตอร์ ที่เราต้องการ
  • ใช้ในหน้างานแบบใด

ทำไมต้องใช้ปั๊มน้ำให้เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

        คำนิยามของพื้นที่เสี่ยงระเบิด เป็นพื้นที่ หรือ อาคารสถานที่ ที่มีโอกาสจะเกิดไฟไหม้หรือ การระเบิด เนื่องจากสารไวไฟหรือ ไอของสารไฮโดรคาร์บอน ของเหลวไวไฟ และผงฝุ่นละอองที่ติดไฟ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน สถานประกอบการเกี่ยวกับบรรจุก๊าซและปิโตรเลียม โรงงานพ่นสี โรงงานแป้งมัน โรงงานทอผ้า
        ดังนั้น อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้ง่าย จึงต้องมีความมีเหมาะสมมาก ๆในการป้องกันการระเบิด เพื่อลดอัตราเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความปลอดภัย

ปั๊มน้ำ TSURUMI ที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงระเบิด

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น BX Series
เป็นปั๊มน้ำ TSURUMI ที่มีใบพัดแบบ CHANNEL เป็นปั๊มน้ำที่ตะกอนสามารถไหลผ่านได้ถึง 81 มม. สามารถใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดการระเบิดได้ตลอดเวลา เพราะได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 และนอกจากนี้ ปั๊มน้ำ TSURUMI BX Series นำมาใช้สูบน้ำทิ้งในสถานีสูบโรงงานบำบัดน้ำเสีย และโรงงานแปรรูป

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น CX Series
เป็นปั๊มน้ำ TSURUMI ที่มีใบพัดแบบ CUTTER สามารถใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดการระเบิดได้ตลอดเวลา เพราะได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 นิยมนำ ปั๊มน้ำ TSURUMI CX Series มาใช้ในงานกำจัดน้ำเสียและของเสีย สิ่งแปลกปลอมในโรงงานบำบัดน้ำเสียและโรงงงานอุตสาหกรรม

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น UX Series
  เป็นปั๊มน้ำที่มีใบพัดแบบ Vortex สำหรับน้ำเสีย  สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงถ้าเกิดการจุดระเบิด เช่น การเกิดประกายไฟ พื้นผิวที่มีความร้อน หรือไฟฟ้าสถิต เป็นปั๊มน้ำได้รับการรับรองมาตรฐาน ATEX II 2 G Ex d IIB T4 เหมาะน้ำเสียในน้ำที่มีของแข็งและวัสดุเส้นใยและการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KTX Series
เป็นปั๊มน้ำที่มีใบพัดแบบ Semi-open สามารถนำมาใช้งานกับพื้นที่อันตรายจากไอน้ำมันและเหมืองแร่ ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Class 2  Group 4 ซึ่งเทียบเท่ากับ D II T4

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ


       โดยปกติแล้ว สภาพทั่วไปของน้ำเสียและบ่อบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าความต้องการออกซิเจน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามปริมาณความต้องการออกซิเจนของจุลินทรีย์ และขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำเสีย หรือ ความเข้มข้นของมวลสารอินทรีย์ ดังนั้น การออกแบบให้มีค่าออกซิเจน ตามที่ต้องการได้นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัย อุปกรณ์ เพื่อช่วยให้สามารถปริมาณ ออกซิเจนได้ วันนี้จึง ได้หยิบยก อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตออกซิเจนในน้ำ อย่าง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ในหัวข้อเรื่อง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีความสำคัญอย่างไรนะ มาฝากผู้อ่านกัน
การเติมอากาศใต้น้ำโดยทั่วไป
ในปัจจุบันการ การเติมอากาศใต้น้ำ นับเป็นปัจจัยสำคัญ ในการผลิตออกซิเจน เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ระบบนิเวศดีขึ้น หรือ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในรูปแบบของอุปโภค ซึ่ง การเติมอากาศใต้น้ำ สามารถทำได้ ทั้งในรูปแบบ ของ การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ยกตัวอย่าง เช่น การเติมอากาศในระบบบ่อผึ้ง  ที่ให้ออกซิเจนในอากาศแพร่ลงในเฉพาะที่ผิวหน้าของบ่อผึ้งเท่านั้น คือ เป็นการเติมอากาศแบบไม่ต้องการพลังงานในการเติมอากาศ  แต่ถ้าหากมีเรื่องพลังงาน เข้ามาเกี่ยวข้องใน การเติมอากาศ ก็ต้องอาศัย การเติมอากาศแบบเครื่องกล อย่างเช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มาช่วย เพิ่มปริมาณออกซิเจน ให้เพียงพอตามความต้องการ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ มีหลากหลาประเภทมาก ได้แก่

ประเภทของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ

  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ JET AERATOR เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบอเนกประสงค์ ที่นิยมใช้ ในบ่อกักเก็บน้ำฝน ,บ่อเลี้ยงปา ที่มีความลึก 1.5 เมตร ขึ้นไป และต้องการออกซิเจน BOD ที่สูง
  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบมี ฟังก์ชัน การทำงานแบบสูบอากาศ ด้วยใบพัด ชนิดกึ่งเปิด (Semi-open) เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ เพื่อช่วยให้ออกซิเจนสามารถแตกตัวได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
ยกตัวอย่างเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ แบบ Aerator

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ TSURUMI รุ่น TRN Series เป็นเครื่องเติมอากาศแบบจุ่ม แบบแช่ ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ ในบ่อที่มีลักษณะแบบบ่อกลมหรือบ่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Ejector เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบมี ฟังก์ชัน การทำงานแบบดูดอากาศด้วยตนเอง และพ่นกระแสน้ำ เพื่อเป็นการถ่ายเท ออกซิเจน
ยกตัวอย่าง เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ แบบ Ejector
เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ KIRA  รุ่น EP Series เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่อง การผลิตปริมาณแรงลมมาก และผลิตฟองอากาศให้มีขนาดเล็ก

ความสำคัญของการใช้ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ในระบบบำบัดน้ำเสีย

เหตุผลที่ใช้ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ก็เพื่อ เติมอากาศและเติมออกซิเจนในน้ำเสีย การเติมอากาศ และการเติมออกซิเจนถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียเลยก็ว่าได้ เพราะหากระบบบำบัดน้ำเสีย ขาดออกซิเจนไป  พวกจุลินทรีย์ในน้ำก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น การมีเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ก็จะมีส่วนช่วยให้มีปริมาณออกซิเจน เพิ่มสูงขึ้น เพื่อ ให้ระบบ สามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถน้ำเสียได้มากขึ้น

และนี้ก็คือทั้งหมด ของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ที่เราได้นำมาฝากกัน ในสัปดาห์นี้ หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย และเราจะหาบทความดีดี มาฝากกันเรื่อยๆ สำหรับสัปดาห์นี้ สวัสดีค่ะ




วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เลือกใช้ปั๊มน้ำ อย่างไร ให้เหมาะกับงานเกษตรกรรม

เลือกใช้ปั๊มน้ำ อย่างไร ให้เหมาะกับงานเกษตรกรรม



       ไม่ว่าจะเป็นงานอุตสาหกรรมไหนๆ ต่างก็ต้องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรื่องน้ำ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้กระทั่ง งานในการเกษตรเองก็ตาม วันนี้แอดมิน ก็เลยขอนำเสนอบทความดีดี ที่เกี่ยวข้อง กับปั๊มน้ำในงานด้านการเกษตรกรรม ในหัวข้อเรื่อง เลือกใช้ ปั๊มน้ำอย่างไร ให้เหมาะสมกับงานเกษตรกรรม มาฝากกันในสัปดาห์นี้ค่ะ

หลักการเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน

  • ปริมาณอัตราการไหลของน้ำ ( ค่า FLOW) และ ระยะส่ง (ค่า Head) ที่ต้องการ
  • ขนาดของปั๊ม สามารถจ่ายน้ำได้เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่
  • ขนาดของมอเตอร์ ต้องการใช้ไฟที่ 220 V หรือ 380 V

ข้อควรระวัง ก่อนการติดตั้ง ปั๊มน้ำในงานเกษตรกรรม

เมื่อเราตัดสินใจเลือกปั๊มน้ำได้แล้ว อีกสิ่งที่เราควรคำนึงถึง ก็คือ สถานที่ที่เราจะทำการติดตั้ง ปั๊มน้ำ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานของปั๊มน้ำ และ ความปลอดภัยในการใช้งาน และในการติดตั้ง ก็ต้องติดตั้งโดย ช่างที่มีความรู้ ความชำนาญในงาน ติดตั้งชุดควบคุม (เบรกเกอร์) เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง สถานที่ติดตั้งมีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก อยู่ที่ให้ร่ม หรือที่ไม่ให้โดนแดดโดนฝน ติดตั้งท่อดูดน้ำและท่อจ่ายน้ำให้ตรงตามคู่มือ และง่ายต่อการดูแล ระวังเรื่องเศษฝุ่น หรือเศษตะกอนที่จะไปติดตามท่อ และสำคัญมากๆ ในการใช้งานของปั๊มน้ำ คือ ไม่ควรใช้งานเกินประสิทธิภาพของปั๊มน้ำ เพราะอาจทำให้ปั๊มเกิดความเสียหายได้ และต้องมีน้ำเต็มตลอดเวลาในขณะใช้งาน

ปั๊มน้ำที่เหมาะนำมาใช้ในงานเกษตรกรรม

ปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA รุ่น L-V Series เครื่องสูบน้ำดีหลายใบพัด มีระยะการส่งน้ำที่สูง และการ Flow ของน้ำในปริมาณมากๆ

ปั๊มน้ำหอยโข่ง Volute รุ่น ECD Series เครื่องสูบน้ำดี ที่ได้รับการรับการรับรองมาตรฐานยุโรป DIN24255/BS EN733 มีประสิทธิภาพในการส่งน้ำสูง ดูแลรักษาได้ง่าย 

ปั๊มน้ำหอยโข่ง Volute รุ่น ECI Series เครื่องสูบน้ำดี ได้รับมาตรฐานการรรับรองตามมาตรฐาน ISO2858 / 519 เหมาะสำหรับงานส่งน้ำในภาคอุตสาหกรรม

และนี้ก็คือ เนื้อหาบทความทั้งหมดที่เราได้นำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ ในการเลือกใช้ปั๊มน้ำ ในงานเกษตรกรรมได้ และเราจะกลับมาพร้อมกับสาระดีดี เกี่ยวกับ ปั๊มอีกครั้ง สำหรับสัปดาห์นี้ สวัสดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้าในคอนโด ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม

ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้าในคอนโด ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม

เคยเจอปัญหา เปิดน้ำก๊อกทีไร บ้างน้ำไหลช้า น้ำไหลไม่สม่ำเสมอ แบบนี้ในหอ อพาร์ทเมนต์ หรือคอนโด กันบ้างไหมเอ่ย ชั้น 1-2 น้ำไหลปกติ แต่ชั้นที่เราอยู่ กลับไหลช้า แน่นอนว่า บ้างเคยเจอ บ้างไม่เคยเจอ แล้วจะมีวิธีการอย่างไร ล่ะ ที่จะมาช่วยจัดการปัญหา ให้หายกวนใจเราสักที วันนี้ก็เลย ขอนำเสนอบทความ ที่เกี่ยวข้อง การรักษาอัตราไหลของน้ำให้คงที่ อย่าง บูสเตอร์ปั๊ม มาฝากกันในหัวข้อ ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้า ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม มาฝากในสัปดาห์นี้

บูสเตอร์ปั๊ม คือ

บูสเตอร์ปั๊ม หรือ Booster Pump เป็นอุปกรณ์ปั๊ม ที่มีหน้าที่เพิ่มและรักษาแรงดันน้ำในระบบท่อส่งน้ำในอาคารให้มีแรงดันคงที่และมีความสม่ำเสมอ สามารถตั้งค่าหรือกำหนดค่าแรงดันน้ำให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานได้ โดยปกติแล้ว บูสเตอร์ปั๊ม จะเหมาะกับนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารหรือตึก ที่มีระบบการใช้น้ำที่สูง แต่แรงดันน้ำไม่พอ บูสเตอร์ปั๊มจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ ในเรื่อง การรักษาแรงดันน้ำให้คงที่

การใช้งาน บูสเตอร์ปั๊ม ใช้งานในลักษณะอย่างไร

ลักษณะของการนำ บูสเตอร์ปั๊ม ไปใช้งานนั้น จะอยู่ในลักษณะงาน ที่ต้องจ่ายน้ำขึ้นอาคารสูง โดยวิธีการสูบน้ำจากบ่อพักน้ำหรือน้ำประปาที่อยู่ในใต้ดิน ขึ้นไปอยู่ระบบการการเก็บน้ำของอาคารโดยตรง ซึ่งตัวปั๊มที่ใช้ในการสูบจ่ายน้ำ ก็ให้พิจารณาจากความสูงของอาคาร จำนวนก๊อกน้ำที่ใช้ เพื่อพิจารณาเลือกปั๊มน้ำให้ตรงกับการนำมาใช้

หลักการทำงานของ บูสเตอร์ปั๊ม

ในทุกๆครั้ง ที่เรามีการเปิดใช้น้ำในระบบ ระดับแรงดันของน้ำจะค่อยๆ ลดแรงดันน้ำ ลงเรื่อยๆ จนถึงค่าที่ได้กำหนดไว้ ตัว Pressure Switch ก็จะสั่งให้ระบบทำการจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ เพื่อทำการจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ระดับแรงดันของน้ำ ค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึงค่าที่ได้กำหนดเอาไว้ ตัว Pressure Switch ก็จะสั่งหยุดการจ่ายไฟ แต่ถ้าหากเจอกรณีที่มีการใช้น้ำมาก จนตัวปั๊มที่หนึ่งทำงานไม่ทัน จนทำให้เกิดแรงดันน้ำตกหรือไม่เพิ่มขึ้น ในส่วนของตู้คอนโทรลก็จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน (กรณีที่มีปั๊มสองตัวขึ้นไป) จนค่าแรงดันน้ำอยู่ในจุดที่ปกติ จึงจะหยุดการทำงาน

ส่วนประกอบของบูสเตอร์ปั๊ม

ตัวชุด บูสเตอร์ปั๊ม ใช้สำหรับการเพิ่มแรงดันให้กับเส้นท่อ และทำการจ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคาร สามารถแบ่งลักษณะของบูสเตอร์ปั๊ม ได้ 2 แบบ ด้วยกัน คือ บูสเตอร์ปั๊มที่ใช้ร่วมกับระบบถังสูง และบูสเตอร์ปั๊มที่จ่ายเข้าอาคารโดยตรง โดยองค์ประกอบของชุด บูสเตอร์ปั๊ม ประกอบด้วย
ปั๊มน้ำ มักนิยมใช้เป็นปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง ซึ่งปั๊มที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งาน มักจะเป็นปั๊มที่ ค่า Head ยกตัวอย่างเช่น

ปั๊มน้ำ VOLUTE รุ่น ECD Series ปั๊มสูบน้ำดี เหมาะสำหรับงานสูบจ่ายน้ำในอาคารสูง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากยุโรป DIN24255/BS EN733 ให้ความคุ้มค่าแก่ผู้ใช้งาน ลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษา

ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบหลายใบพัด Intersigma รุ่น SVD Series เป็นปั๊มน้ำคุณภาพที่ออกแบบและผลิตมาสำหรับงานหมุนเวียนน้ำในระบบเครื่องทำความ ร้อน และเครื่องทำความเย็น เหมาะกับงานจ่ายน้ำแรงดันขึ้นที่สูง แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานหนักโดยเฉพาะ

เช็ควาล์ว
วาล์วปิด/ เปิด
ท่อร่วมทางจ่าย
ถังไดอะแฟรม
ตู้คอนโทรล
สวิทซ์แรงดัน
ข้อต่อยืดหยุ่นได้
วาล์วพิเศษ
เกจที่ท่อทางจ่าย
โครงฐานเหล็ก

สรุปแล้ว การนำ บูสเตอร์ปั๊ม มาใช้งาน ก็เพื่อช่วยเสริมแรงดันในระบบอาคารสูง ช่วยเสริมแรงดันน้ำในชั้นบนๆ เพราะส่วนใหญ่ ตามอาคารมักจะมีถังเก็บน้ำไว้บนดาดฟ้า ซึ่งทำให้แรงดันน้ำ ส่งน้ำได้ไม่เพียงพอ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คิดจะเลือกใช้ปั๊มจุ่ม เพื่อระบายน้ำหลังวิกฤติหน้าฝน เลือกใช้รุ่นไหนดีนะ

คิดจะเลือกใช้ปั๊มจุ่ม เพื่อระบายน้ำหลังวิกฤติหน้าฝน เลือกใช้รุ่นไหนดีนะ

ปั๊มจุ่มสำหรับน้ำท่วม

       ในหลาย ๆ ครั้งที่เรา ต้องเจอกับ อุปสรรคและปัญหา ที่มาพร้อมกับ ช่วงเวลาฝนตก โดยที่ ไม่ทัน เตรียมตัว เตรียมใจกับ สถานการณ์ ที่ เรียกว่า น้ำท่วมขัง แม้กระทั่ง ผู้เขียนเอง เวลาเจอฝนตกทีไร ได้ลุยน้ำท่วม กลับบ้านทุกที เฮ้อ เซ็ง แทบ ยังมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อีก จะปล่อยให้น้ำท่วมขัง แบบนี้ไม่ดีแน่ สัปดาห์นี้ ผู้เขียน จึงขอนำเสนอ เรื่อง คิดจะเลือกใช้ปั๊มจุ่ม เพื่อระบายน้ำหลังวิกฤติหน้าฝน เลือกใช้รุ่นไหนดีนะ มาฝากกันค่ะ

อุปสรรคและปัญหา ที่ชอบมา พร้อมๆ กับ น้ำท่วม ช่วงหน้าฝน

ในช่วงหน้าฝน นอกจากจะเจอปัญหา น้ำท่วมขัง จนระบายไม่ทัน หรือ การจราจรก็เกิดการติดขัด จะเดินทาง หรือ สัญจรไปไหน ก็มีความยากลำบากแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหามาก ๆ ไม่แพ้กัน ก็คือ โรคภัย ที่มีจากสาเหตุน้ำท่วมนี่ล่ะ  เพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุด ในช่วงนี้ อาทิ เช่น โรคน้ำกัดเท้า หรือ เชื้อราที่เท้า ที่มีสาเหตุมาจากการอยู่ในพื้นที่ ที่ต้องเดินย่ำน้ำชื้นและแฉะเวลาฝนตก หรือ บางทีในพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ก็อาจจะเจอกับ พยาธิ ปากตะขอ  ที่สามารถชอนไช เข้าสู่ผิวหนัง ได้โดยตรง ซึ่งนั้น เป็นสาเหตุที่เราสามารถรับเชื้อ ฉี่หนู เข้าสู่ร่างกายได้ อื้อหือ แค่นี้ ก็น่ากลัวจนขนลุก

คำว่า น้ำท่วมขัง อาจจะไม่ได้เกิด จากคำ ว่า ฝนตก เสมอไป

เวลาที่เรา นึกถึง คำว่าน้ำท่วมขัง เรามักจะนึกถึง ช่วงเวลาที่ฝนตกหนัก จนทำให้เกิด สภาวะน้ำท่วม กันใช่ไหมคะ แต่ความจริงแล้ว สภาวะการเกิดน้ำท่วมขัง อาจจะเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ที่ไม่ใช่ แค่คำว่า ฝนตก  แต่พิจารณา ได้อีกหลาย ปัจจัย เช่น การเกิดน้ำท่วมขัง โดยมีสาเหตุมาจาก การสร้างถนนโดยวางผังไม่เหมาะสม การสร้างอาคารที่ขวางทางน้ำไหล แต่ไม่สร้างทางระบายน้ำ  หรือสาเหตุของการอุดตันของท่อระบายน้ำ ที่มีจำนวนขยะมากจนเกินไป หรือแม้แต่ ในหน้างาน วิศวกรรมโยธา การขุดเจาะ หรือ การรดน้ำต้นไม้ บริเวณแอ่งบน ดาดฟ้าตึก การมีสิ่งสกปรก อุดตันท่อระบายน้ำ ในห้องน้ำ จนเกิด เป็นน้ำท่วมขัง ได้เช่นกัน

ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ตัวช่วยสำคัญ เพื่อช่วยระบายน้ำ ท่วมขัง

ในปัจจุบัน ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ก็มีหลากหลายรูปแบบตามท้องตลาด  และสามารถเลือกใช้ให้ตรงความต้องการ ได้ อาทิเช่น สูบน้ำเสีย สูบน้ำที่มีตะกอน หรือสูบน้ำโคลน สูบน้ำขัง หากเรา เลือกใช้ให้ตรง ความสามารถ ของ ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ดูว่า ทนต่อ ลักษณะของน้ำ ที่จะนำไปใช้ได้ ก็ส่งผลให้ยืดอายุการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ปั๊มน้ำที่เหมาะสำหรับน้ำท่วมขัง ได้แก่



ปั๊มจุ่มหรือ ปั๊มแช่ ขนาดกระทัดรัด พกพาสะดวก มีความทนทาน มีระบบ Mechanical ช่วยกันการรั่วซึมน้ำได้ดี เหมาะกับงานสูบระบายน้ำ  ใช้ระบบไฟ Single Phase

ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ที่มี Body เป็นเหล็กหล่อ ใช้ระบบไฟ Three Phase เป็นปั๊มน้ำที่เหมาะกับงานสูบน้ำลึก และนอกจากนั้น ยังสามารถนำไปใช้ในงานที่มีดิน มีทราย หรืองานก่อสร้างได้อีกด้วย


ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ที่มีคุณสมบัติเด่น ในการสูบน้ำได้ในระดับต่ำสุด ถึง 1 มม.ตัว Body ทำจากอลูมิเนียม ใช้ระบบไฟ แบบ Single Phase

ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ ที่มีคุณสมบัติ คล้ายกับ TSURUMI  รุ่น LSC Series แต่สามารถดูดน้ำตามมุมได้ แก้ไขปัญหาในกรณีที่หน้างานมีพื้นที่ จำกัด

  และนี้ ก็คือ ทั้งหมดของบทความ ที่เราได้นำมาฝากกันใน สัปดาห์นี้ หวังว่าจะเป็น ประโยชน์ต่อ ผู้อ่าน ในการปรับใช้ใน การเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ หรือ ปั๊มจุ่ม ได้ตรงความต้องการกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ ค่ะ







วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

สาระน่ารู้ เกี่ยวกับระบบสปริงเกอร์ ช่วยประหยัดต้นทุน ในสวนได้นะ


สาระน่ารู้ เกี่ยวกับระบบสปริงเกอร์ ช่วยประหยัดต้นทุน ในสวนได้นะ
ระบบสปริงเกอร์

       ในหลายๆพื้นที่ในปัจจุบัน ต่างให้ความสำคัญใน เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างทรัพยากรน้ำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสอดคล้องในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดปัญหาในเรื่อง การขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ในหลายๆที่ของประเทศ วันนี้จึงอยากนำเสนอ บทความ ที่ช่วยในเรื่อง การวางระบบ การจัดน้ำ ให้เกิดประโยชน์ อย่างการ ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ มาฝากกันค่ะ
การจัดการะบบน้ำในสวน แม้จะเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยาก และอาจจะต้องลงทุนไปกับค่าอุปกรณ์ไปบ้าง เพราะชาวสวน หลายๆท่าน อาจจะติดปัญหาในการออกแบบระบบ หรือมีการว่าจ้าง เพื่อวางระบบ แต่ถ้าเรา ออกแบบระบบดี ก็จะช่วยให้เราทุ่นแรงและประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ ได้เยอะเลยนะ ซึ่งหลักการวางระบบ ก็จะประกอบไปด้วย
  1. การเลือกขนาดหรือประเภทของปั๊มน้ำที่ต้องการนำมาใช้งาน
  2. การเลือกขนาดของท่อน้ำสำหรับท่อหลักควารเป็นขนาดใหญ่
  3. การเลือกอุปกรณ์หรือท่อน้ำในการติดระบบน้ำ
  4. การต่อท่อน้ำไปยังพื้นที่ที่เราต้องการ
  5. ดูสภาพพื้นที่ ที่เราต้องการวางท่อน้ำ
  6. หัวสปริงเกอร์ หรือ อุปกรณ์กระจายน้ำ

การเดินระบบน้ำในสวน ต้องมีหลักการอย่างไรนะ

       แล้ววางระบบ ด้วย การติดตั้ง ระบบสปริงเกอร์ ทำอย่างไร ก่อนที่จะรู้วิธีการ ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ เรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่า สปริงเกอร์ คืออะไร สปริงเกอร์ คือ รูปแบบการรดน้ำ รูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะการทำงาน แบบฉีดอัดน้ำให้แตกกระจายเป็นสายๆ แล้วหมนุนเหวี่ยงน้ำไป รอบ ๆ พื้นที่ ที่เราต้องการ โดยที่ ระบบสปริงเกอร์ ก็มีหลากหลายประเภท เพื่อเหมาะกับการนำน้ำไปใช้ ในงานสวนแต่ละแบบ ได้แก่
  1. หัวแบบ MiniSprinker เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่เหมาะกับ งานระบบสวน ที่ต้องการกระจายน้ำในอัตราที่ไม่สูงมากนัก ในระยะ 2-3  เมตร เหมาะกับงาน ในสวนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือไม้พุ่ม 
  2. หัวแบบ Spray เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่มีลักษะการจ่ายน้ำในรูปแบบพัดกระจาย ในระยะ 5 -6  เมตร เหมาะกับงานในสวน ของบ้านพักอาศัย
  3. หัวแบบ Rotor เป็นหัวสปริงเกอร์ ที่มีลักษณะการจ่ายน้ำแบบฉีดพ่นน้ำออกจากหัวจ่าย แบบหมุนรอบตัว หรือ ตามองศาที่กำหนดไว้ ระยะในการกระจายน้ำ อยู่ที่ 15-20 เมตร เหมาะกับงานในสวนที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
       เมื่อเรา เลือกประเภทของของ หัวสปริงเกอร์ที่เหมาะสมให้กับสวนของเราได้แล้ว ที่นี้เรา ก็มาดูองค์ประกอบง่าย ๆ ในการวาง ระบบสปริงเกอร์ ว่าต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
  1. หัวสปริงเกอร์ หรือ อุปกรณ์จ่ายย้ำ โดยเลือกจากจากลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นที่ของสวน
  2. วาล์ว ไฟฟ้า สำหรับการเปิดปิดน้ำ โดยเลือกวาล์วให้มี ค่าความต่างศักย์อยู่ที่ 24 โวลท์
  3. คอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมวาล์ว ปิดเปิดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
  4. เครื่องสูบจ่ายน้ำ หรือ ปั๊มน้ำ ควรเลือกปั๊มน้ำที่สามารถรองรับแรงดันน้ำ ได้ค่อนข้างสูง  ( ในบทความนี้จะยกตัวอย่าง ปั๊มน้ำที่สามารถนำมาใช้กับระบบสปริงเกอร์ได้ ) ได้แก่
ปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA รุ่น L-V Series
ปั๊มน้ำ INTERSIGMA L-V Series


ปั๊มน้ำหอยโข่ง INTERSIGMA รุ่น L-V Series เป็นปั๊มสูบจ่ายน้ำแบบหลายใบพัด ที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการสูบจ่ายน้ำ ในระยะทาง และ แรงดันค่อนข้างสูงที่ต้องการ อัตราการไหลของน้ำในปริมาณมาก มีใบพัดให้เลือก ตั้งแต่ 4 – 5  ใบพัด จุดเด่นของปั๊มน้ำ INTERSIGMA รุ่น L-V Series อยู่ที่ค่า อัตราการไหลของน้ำ (Flow) สูง

        ตามที่กล่าวมา ทั้งหมดแล้วนั้น สามารถสรุป ข้อดีของการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ได้ว่า เป็นระบบที่ให้ความสะดวกสบาย แก่ ผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลสวน สามารถรดน้ำได้ในวงกว้าง โดยประหยัดแรงและเวลา มีหลากหลาย หัวสปริงเกอร์ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของสวน จัดสรรทรัพยากรน้ำได้อย่างประหยัด เพราะสามารถควบคุมการเปิดปิด และปริมาณของน้ำได้  





วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

ปั๊มน้ำ เพื่องาน ก่อสร้าง ไม่ได้ มีแค่ TSURUMI รุ่น KTZ Series รุ่นเดียวนะ


ปั๊มน้ำ เพื่องาน ก่อสร้าง ไม่ได้ มีแค่ TSURUMI รุ่น KTZ Series  รุ่นเดียวนะ


       เมื่อ มีนาคม ปีที่แล้ว แอดมิน เคยนำเสนอบทความ เกี่ยวกับ ปั๊มแช่สำหรับก่อสร้าง KTZ Series ไปแล้ว (คลิกที่นี่ เพื่อกลับไปยังบทความ เครื่องสูบน้ำแบบแช่ สำหรับก่อสร้าง คือรุ่นอะไรบ้าง ) ครั้งนี้แอดมิน จะมา Update เพิ่มเติมว่า นอกจาก TSURUMI รุ่น KTZ Series ยังมีอีกหลายรุ่น ที่เหมาะนำไปใช้กับ งานก่อสร้าง ได้

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KTV Series

ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Vortex ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้ทนต่อการกัดกร่อนของสารละลายได้ ได้ในพื้นที่จำกัด เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้างและฐานราก สูบน้ำที่มีดินทราย โคลนปะปนอยู่ในน้ำได้

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น KRS Series

ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Open  ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้สูบน้ำในงานเหมืองแร่ได้ และสามารถสูบน้ำได้ในระดับลึกมาก โครงสร้างเหล็กหล่อ ทนการกัดกร่อน  เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานโยธา มีความทนทานต่อหน้างานที่ใช้งาน

ปั๊มน้ำ TSURUMI รุ่น LH Series 


ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ แบบ Three phase มีชนิดใบพัดเป็นแบบ Semi Open  ปั๊มน้ำ ดูดโคลน ที่ถูกออกแบบมา ให้สูบน้ำได้ในปริมาณมาก การติดตั้งท่อกับตัวปั๊มมีความแข็งแรงคงทน มีการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องในระดับน้ำต่ำ เป็นปั๊มน้ำรุ่นที่ทนแรงดันของน้ำได้สูง สามารถนำไปปรับใช้สำหรับงานสูบน้ำลึกได้ เหมาะกับการใช้งานเหมืองแร่และยังสามารถ สูบน้ำที่มีดิน ทราย ในงานก่อสร้าง เช่น แม่น้ำ, เขื่อน, อุโมงค์, ทางด่วน, สะพาน, ท่าเรือ



วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปั๊มจุ่ม KIRA EP Series : ปั๊มจุ่ม ใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย

ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series : ปั๊มจุ่ม ใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย 
ปั๊มจุ่ม KIRA EP Series : ปั๊มจุ่ม ใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย

ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series คือ

ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series หรือ KIRA รุ่น EP Series Submersible Ejector Pump เป็นปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ ที่ตัวปั๊มนั้นเคลือบด้วย Epoxy ทำให้โดดเด่นในเรื่องของการทนทานต่อการกัดกร่อน กับน้ำที่มีส่วนผสมของสารเคมี กรดอ่อน ๆ ได้อย่างดี

นำ ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series ไปใช้ในงานอะไรได้บ้าง

ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series เหมาะกับงานระบบน้ำเสีย และงานเติมอากาศ
  • ระบบบำบัดน้ำเสียในคอนโดมิเนียม โรงพยาบาล งานอาคาร และในโรงงานอุตสาหกรรม
  • การเติมอากาศในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ บ่อเลี้ยงปลา

ข้อดีของ ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series
  • มีปริมาณแรงลมมาก และเป่าฟองอากาศให้มีขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนมากขึ้น
  • ตัวเครื่องเสียบเงียบ ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง
ปั๊มจุ่ม ใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย

จุดเด่นของ ปั๊มจุ่ม KIRA รุ่น EP Series

  • ตัวปั๊ม เคลือบด้วย EPOXY ทนต่อการกัดกร่อนสารเคมี และน้ำทะเล
  • ฐานสายไฟ ทำจาก Epoxy ป้องกันน้ำเข้า
  • มีระบบ Motor Protector เพื่อป้องกันมอเตอร์ไหม้



วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความแตกต่างของสินค้าที่ได้รับมาตรฐาน กับสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน

ความแตกต่างของสินค้าที่ได้รับมาตรฐาน กับสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน


ข้อแตกต่างระหว่าง KOSHIN รุ่น LP-32 สินค้าคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น กับสินค้าเลียนแบบจากประเทศไต้หวัน


1.ประสิทธิภาพ KOSHIN รุ่น LP-32 ประหยัดเวลา เบาแรง ให้ Flow Rate 1 ลิตร /รอบ  ต่างจากสินค้าเลียนแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน ให้ Flow rate 0.73 ลิตร/รอบ ทำให้ต้องทำงานมากขึ้น ใช้เวลานานขึ้นถึง 27%

2.เฟืองขับเคลื่อนของ KOSHIN LP-32 ผ่านการชุบแข็ง  สามารถใช้งานได้ทนทานมากกว่าสินค้าเลียนแบบจากประเทศไต้หวัน  ทำให้อายุการใช้งานยาวนานกว่าถึง 3 เท่า

3.ตลับลูกปืน KOSHIN LP-32 ผลิตในญี่ปุ่น ใช้งานได้ยาวนานกว่า ทนทานกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า สินค้าเลียนแบบจากประเทศไต้หวัน

ทำไมการ บำบัดน้ำเสีย จึงสำคัญ


ทำไมการ บำบัดน้ำเสีย จึงสำคัญ


การบำบัดน้ำเสีย ไม่ได้มีแค่ในโรงงานอุตสาหกรรม เท่านั้้น แต่ตามที่อยู่อาศัย หอพัก คอนโด โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือตามสถานที่ต่างๆ ก็ให้ความสำคัญในการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ  ซึ่ง น้ำเสีย เกิดจากน้ำหรือของเหลวที่มีสิ่งเจือปนต่างๆ ในปริมาณที่สูง ดังนั้น จึงควร บำบัดน้ำเสีย ด้วยเครื่องมือที่คุณภาพไม่ว่าจะเป็น ปั๊มในกลุ่มน้ำเสีย ปั๊มสูบน้ำเสียหรือเครื่องสูบน้ำเสีย ไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

ปัญหา ที่มากับ น้ำเสีย

  • เป็นแหล่งที่มาของการทำให้เกิดโรค หรือ การแพร่ระบาดของเชื้อโรค
  • ก่อให้เกิดความรำคาญ ของกลิ่น หรือ สีที่เป็นน่ารังเกียจ

ทำไม ต้องบำบัด

เป็นการลดความสกปรกของน้ำเสียได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้มีคุณภาพดีขึ้นและไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแม่น้ำ หรือแหล่งธรรมชาติโดยรอบ การบำบัดน้ำเสียก็มีหลายหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน บางแหล่งใช้วิธีการบำบัดด้วยวิธีการทางชีวภาพหรือ การใช้จุลินทรีย์ เพื่อกำจัดสิ่งเจือปนที่มากับน้ำ แต่บางแหล่งที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย ตามโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะนิยมใช้ ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ เช่น  KIRA รุ่น EP Series ตัวปั๊มทำจากวัสดุสแตนเลส กับ เหล็กหล่อ ทนต่อการกัดกร่อน คุณภาพดี มาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เหตุผล ทำไม ปั๊มจุ่ม ต้องมี GUIDE RAIL


เหตุผล ทำไม ปั๊มจุ่ม ต้องมี GUIDE RAIL



ทุกครั้งที่เราเลือกซื้อปั๊มน้ำในกลุ่มน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็น ปั๊มจุ่ม ปั๊มสูบน้ำเสียหรือเครื่องสูบน้ำเสีย (Submersible Pump) เมื่อไหร่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย จะมีอุปกรณ์เสริม ที่เรียกว่า ชุด GUIDE RAIL มาให้เราด้วยครั้ง สงสัยกันไหมว่า สำคัญอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

Guide Rail คืออะไรนะ 


Guide Rail คือ อุปกรณ์ท่อนำร่อง ที่ใช้เพื่อเป็นตัวนำเครื่องของปั๊มน้ำ ปั๊มจุ่ม ลงไปยังบ่อไปยังชุดติดตั้งตีนเป็ด เพื่อติดตั้งตัวปั๊ม เพื่อเป็นประโยชน์ในการบำรุงรักษาและสามารถตรวจสอบสภาพของปั๊มโดยไม่จำเป็นต้องลงไปในบ่อ ตัวระบบ Guide Rail มีอะไรบ้างนะ

TOS/TO 
เป็นระบบรางเลื่อนติดตั้ง ปั๊มน้ำ ปั๊มจุ่ม ที่ทำมาจากเหล็กหล่อ  TOS เหมาะกับปั๊มจุ่ม ที่มีขนาดท่อส่ง 50-150 mm และ TO เหมาะกับปั๊มจุ่ม ที่มีขนาดท่อส่ง 200-800 mm
TS
เป็นระบบรางเลื่อนติดตั้งที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานีน้ำเสียแบบสำเร็จรูป  ตัว TS จะเหมาะกับปั๊มจุ่ม ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 50 -100 mm
TOK
เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจาก เรซินคุณภาพสูง เป็นระบบรางที่เหมาะกับงานปั๊มจุ่ม ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
และนอกจาก ปั๊มน้ำ ปั๊มจุ่ม จะมี Guide Rail แล้ว ก็ยังควรติดตั้ง Guide Pipe และ Free standing ในแนวดิ่งด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข้อดี - ข้อจำกัด ของปั๊มน้ำหอยโข่ง มีอะไรบ้างนะ ? มารู้กัน

ข้อดี -ข้อจำกัด ของปั๊มน้ำหอยโข่ง มีอะไรบ้างนะ ? มารู้กัน

ข้อดี -ข้อจำกัด ปั๊มหอยโข่ง

ตามที่เรารู้จักกัน ปั๊มน้ำหอยโข่ง หรือ Centrifugal Pump เป็นปั๊มน้ำที่นิยมใช้กันในหลายๆพื้นที่ ที่ใช้ในงานอุปโภค บริโภค หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ระบบสูบน้ำ การระบายน้ำในกรมชลประทาน หรืออาจนำไป ประยุกต์ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ  แต่ถึงแม้จะใช้งานได้หลากหลาย มันก็มีข้อดี-ข้อจำกัดซ่อนอยู่

ข้อดีของ ปั๊มน้ำหอยโข่ง

  • ง่ายต่อการดูแลรักษา ตัวปั๊มน้ำหอยโข่ง เป็นปั๊มที่ส่วนมาประกอบเพิ่มเติมน้อย แล้วแต่ละส่วนที่นำมาประกอบมีอายุการใช้งานที่ต่างกัน จึงสามารถแยกซ่อมหรือเปลี่ยนได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนทั่งเครื่อง ช่วยในเรื่องการยืดอายุการใช้งาน
  • ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ด้วยความที่ปั๊มหอยโข่ง ไม่ค่อยยุ่งยากเรื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม เหมือนปั๊มอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความประหยัดเรื่องต้นทุน เช่นพื้นที่ในการติดตั้ง
  • การ Flowของน้ำไหลได้มาก เนื่องจากปั๊มน้ำหอยโข่งได้รับพลังงานและแรงเหวี่ยงมาจากมอเตอร์โดยตรง ทำให้แรงเหวี่ยงที่เกิดจากการหมุน ผลิตการไหลน้ำในปริมาณได้เยอะมากขึ้น 

ข้อจำกัดของปั๊มหอยโข่ง

  • ใช้งานเกี่ยวกับของหนืดไม่ได้ ของเหลวประเภทของหนืดนั้น มีคุณสมบัติที่ไหลค่อนข้างยาก จะส่งผลให้ การทำงานแบบแรงหมุนเหวี่ยงของปั๊มน้ำหอยโข่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพน้อยลง และทำให้เกิดความเสียหายตามมา
  • ไม่มีระบบรองรับแรงดันสูง เพราะปั๊มน้ำหอยโข่งถูกออกแบบมาให้ถูกถ่ายเทพลังงาน เรื่องการไหลมากกว่าแรงดัน

การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...