วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้าในคอนโด ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม

ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้าในคอนโด ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม

เคยเจอปัญหา เปิดน้ำก๊อกทีไร บ้างน้ำไหลช้า น้ำไหลไม่สม่ำเสมอ แบบนี้ในหอ อพาร์ทเมนต์ หรือคอนโด กันบ้างไหมเอ่ย ชั้น 1-2 น้ำไหลปกติ แต่ชั้นที่เราอยู่ กลับไหลช้า แน่นอนว่า บ้างเคยเจอ บ้างไม่เคยเจอ แล้วจะมีวิธีการอย่างไร ล่ะ ที่จะมาช่วยจัดการปัญหา ให้หายกวนใจเราสักที วันนี้ก็เลย ขอนำเสนอบทความ ที่เกี่ยวข้อง การรักษาอัตราไหลของน้ำให้คงที่ อย่าง บูสเตอร์ปั๊ม มาฝากกันในหัวข้อ ลดปัญหากวนใจ น้ำไหลช้า ด้วยบูสเตอร์ปั๊ม มาฝากในสัปดาห์นี้

บูสเตอร์ปั๊ม คือ

บูสเตอร์ปั๊ม หรือ Booster Pump เป็นอุปกรณ์ปั๊ม ที่มีหน้าที่เพิ่มและรักษาแรงดันน้ำในระบบท่อส่งน้ำในอาคารให้มีแรงดันคงที่และมีความสม่ำเสมอ สามารถตั้งค่าหรือกำหนดค่าแรงดันน้ำให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานได้ โดยปกติแล้ว บูสเตอร์ปั๊ม จะเหมาะกับนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารหรือตึก ที่มีระบบการใช้น้ำที่สูง แต่แรงดันน้ำไม่พอ บูสเตอร์ปั๊มจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ ในเรื่อง การรักษาแรงดันน้ำให้คงที่

การใช้งาน บูสเตอร์ปั๊ม ใช้งานในลักษณะอย่างไร

ลักษณะของการนำ บูสเตอร์ปั๊ม ไปใช้งานนั้น จะอยู่ในลักษณะงาน ที่ต้องจ่ายน้ำขึ้นอาคารสูง โดยวิธีการสูบน้ำจากบ่อพักน้ำหรือน้ำประปาที่อยู่ในใต้ดิน ขึ้นไปอยู่ระบบการการเก็บน้ำของอาคารโดยตรง ซึ่งตัวปั๊มที่ใช้ในการสูบจ่ายน้ำ ก็ให้พิจารณาจากความสูงของอาคาร จำนวนก๊อกน้ำที่ใช้ เพื่อพิจารณาเลือกปั๊มน้ำให้ตรงกับการนำมาใช้

หลักการทำงานของ บูสเตอร์ปั๊ม

ในทุกๆครั้ง ที่เรามีการเปิดใช้น้ำในระบบ ระดับแรงดันของน้ำจะค่อยๆ ลดแรงดันน้ำ ลงเรื่อยๆ จนถึงค่าที่ได้กำหนดไว้ ตัว Pressure Switch ก็จะสั่งให้ระบบทำการจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ เพื่อทำการจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ระดับแรงดันของน้ำ ค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึงค่าที่ได้กำหนดเอาไว้ ตัว Pressure Switch ก็จะสั่งหยุดการจ่ายไฟ แต่ถ้าหากเจอกรณีที่มีการใช้น้ำมาก จนตัวปั๊มที่หนึ่งทำงานไม่ทัน จนทำให้เกิดแรงดันน้ำตกหรือไม่เพิ่มขึ้น ในส่วนของตู้คอนโทรลก็จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน (กรณีที่มีปั๊มสองตัวขึ้นไป) จนค่าแรงดันน้ำอยู่ในจุดที่ปกติ จึงจะหยุดการทำงาน

ส่วนประกอบของบูสเตอร์ปั๊ม

ตัวชุด บูสเตอร์ปั๊ม ใช้สำหรับการเพิ่มแรงดันให้กับเส้นท่อ และทำการจ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคาร สามารถแบ่งลักษณะของบูสเตอร์ปั๊ม ได้ 2 แบบ ด้วยกัน คือ บูสเตอร์ปั๊มที่ใช้ร่วมกับระบบถังสูง และบูสเตอร์ปั๊มที่จ่ายเข้าอาคารโดยตรง โดยองค์ประกอบของชุด บูสเตอร์ปั๊ม ประกอบด้วย
ปั๊มน้ำ มักนิยมใช้เป็นปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง ซึ่งปั๊มที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งาน มักจะเป็นปั๊มที่ ค่า Head ยกตัวอย่างเช่น

ปั๊มน้ำ VOLUTE รุ่น ECD Series ปั๊มสูบน้ำดี เหมาะสำหรับงานสูบจ่ายน้ำในอาคารสูง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากยุโรป DIN24255/BS EN733 ให้ความคุ้มค่าแก่ผู้ใช้งาน ลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษา

ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบหลายใบพัด Intersigma รุ่น SVD Series เป็นปั๊มน้ำคุณภาพที่ออกแบบและผลิตมาสำหรับงานหมุนเวียนน้ำในระบบเครื่องทำความ ร้อน และเครื่องทำความเย็น เหมาะกับงานจ่ายน้ำแรงดันขึ้นที่สูง แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานหนักโดยเฉพาะ

เช็ควาล์ว
วาล์วปิด/ เปิด
ท่อร่วมทางจ่าย
ถังไดอะแฟรม
ตู้คอนโทรล
สวิทซ์แรงดัน
ข้อต่อยืดหยุ่นได้
วาล์วพิเศษ
เกจที่ท่อทางจ่าย
โครงฐานเหล็ก

สรุปแล้ว การนำ บูสเตอร์ปั๊ม มาใช้งาน ก็เพื่อช่วยเสริมแรงดันในระบบอาคารสูง ช่วยเสริมแรงดันน้ำในชั้นบนๆ เพราะส่วนใหญ่ ตามอาคารมักจะมีถังเก็บน้ำไว้บนดาดฟ้า ซึ่งทำให้แรงดันน้ำ ส่งน้ำได้ไม่เพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...