วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ชนิดของปั๊มหอยโข่ง

 ชนิดของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump)



ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) คือ ปั๊มน้ำแรงดันสูง มีรูปร่างลักษณะของตัวปั๊มที่เหมือนขดของหอยโข่ง นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายใช้ในการสูบน้ำทั่วไปที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลางไปถึงมาก ส่วนมากเราจะพบในการใช้งานในด้านงานสูบน้ำในระบบหล่อเย็น ในการใช้เปลี่ยนถ่ายความร้อน งานสูบน้ำในสวนผัก งานเกษตร งานระบบบำบัดน้ำ ชลประทาน ในระบบครัวเรือนและใช้ในงานโรงงานอุตสาหกรรม

ชนิดของปั๊มหอยโข่ง
1.ปั๊มหอยโข่ง (Volute Type) เป็นปั๊มที่ของเหลวสามารถไหลเข้ามาสู่จุดศูนย์กลางของใบพัดที่มีทิศทางขนานกันกับแกนของเพลา แล้วไหลออกทำมุมอยู่ที่ 90 องศากับทิศทางที่ไหลเข้ามา ส่วนช่องของทางเดินของของเหลวจากลิ้นของตัวปั๊มมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้นตามความยาวของเส้นรอบวงในทิศทางการหมุนของใบพัด บางแบบมีการเพิ่มช่องทางเดินมากขึ้น เพื่อจะช่วยให้แรงกดบนเพลาของปั๊มมีความสมดุลดีขึ้น

2. ปั๊มหอยโข่งแบบมีครีบผันน้ำ (Diffuser Type) เป็นปั๊มที่มีลักษณะของใบพัดและรูปร่างภายนอกของตัวปั๊ม(Casing) เหมือนกับแบบ Volute Type ทุกอย่าง แต่จะมีความแตกต่างกันเพียงแค่ภายในจะมีครีบผันน้ำ (Guide Vanes) ตัวของครีบที่ติดกับตัวปั๊มจะช่วยให้ของเหลวที่ถูกผลักดันออกมา ไปในทิศทางของช่องทางเดินที่เป็นตัวโค้งได้ดีมากขึ้นและทำให้มีการสูญเสียพลังงานที่น้อยลง

3. ปั๊มหอยโข่งแบบเทอร์ไบน์ (Turbine Type) หรือเรียกกันว่า Vortex , Periphery หรือ Regenerative Turbine มีลักษณะคือใบพัดจะเป็นแผ่นแบบกลมมีความหนา ครีบของใบพัดเกิดจากการเซาะร่องบนขอบของแผ่นใบพัด ทำให้เกิดเป็นแผ่นครีบแคบๆ และสั้นในแนวรัศมี (Radial Direction) ในขณะที่ของเหลวไหลเข้ามาจากทางดูดสู่ช่องว่างระหว่างครีบของใบพัด จะถูกเหวี่ยงออกด้วยแรงหนีศูนย์กลาง แต่ด้วยที่ผนังของตัวปั๊มถูกปิดกั้นอยู่ ของเหลวดังกล่าวก็จะวิ่งย้อนกลับมาที่ช่องว่างระหว่างใบพัดและถูกเหวี่ยงออกไปอีกครั้ง พลังงานที่ของเหลวได้รับจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ของเหลววิ่งเข้าสู่ช่องว่างระหว่างครีบของใบพัดและถูกเหวี่ยงออกไป

4. ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบ Vertical Turbine (Vertical  Turbine Type) หรือเรียกว่าปั๊มน้ำบาดาล (Deep Well หรือ Deep Well Turbine Pump ) มีใบพัดที่เป็นแบบ Radial Flow หรือ Mixed Flow ส่วนประกอบของปั๊มประกอบไปด้วยท่อทรงกระบอกเพื่อให้สามารถบรรจุในท่อบ่อน้ำบาดาลได้ ส่วนใหญ่แล้วบ่อน้ำบาดาลจะมีระดับที่ลึกมาก จำเป็นต้องออกแบบมาเพื่อให้ใบพัดและตัวของปั๊มสามารถต่อเข้าด้วยกันหลายชุด ต่อเข้าด้วยกันได้เป็นชั้นๆ โดยอาศัยเพลาหมุนใบพัดท่อนเดียวกัน เรือนปั๊ม(Casing)ก็ต้องดัดแปลงให้รับน้ำจากใบพัดแล้วส่งขึ้นไปสู่ทางดูดของใบพัดตัวบนได้  และเนื่องจากลักษณะของเรือนปั๊มแตกต่างจากแบบหอยโข่ง (Volute)

5. ปั๊มน้ำหอยโข่งแบบ Mixed Flow คือแบบหอยโข่ง (Volute) และแบบมีครีบผันน้ำ (Diffuser) ทำหน้าที่รวบรวมหรือผันของเหลวที่ไหลออกมากจากใบพัดไปสู่ช่องทางการจ่ายใบพัดที่ใช้กับปั๊มทั้งสองแบบ โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น Radial Flow คือของเหลวจะไหลเข้าสู่จุดศูนย์กลางของใบพัดในแนวขนานกันกับเพลา แล้วไหลออกด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

6. ปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบ Axial Flow เป็นแบบ Axial Flow ที่ของเหลวไหลเข้าและไหลออกจากใบพัดในทิศทางขนานกันกับแกนของเพลา แรงที่เพิ่มพลลังงานให้กับของเหลวจะเป็นแรงที่ผลักดันไปในทิศทางของการไหลเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่มีแรงเหวี่ยงศูนย์กลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การเลือกถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม

การเลือก ถุงไดอะแฟรม มาใช้งานกับชุดบูสเตอร์ปั๊ม ( Booster Pump)  ถุงไดอะแฟรม คือ มีลักษณะเป็นสีดำสนิทจะอยู่ในถังแรงดัน  Pressure Tank  ผลิต...